|
อ้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Saccharum
officinarum L.
วงศ์ :
GRAMINEAE
ชื่อสามัญ
: Sugar cane
ชื่ออื่น :
อ้อยขม อ้อยดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก สูง ๒-๕ เมตร ลำต้นสีม่วงแดง
มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ
กว้าง ๒.๕-๕ ซม. ยาว ๐.๕-๑ เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด
สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
อ้อยมีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง
ความยาวของข้อและสีของลำต้น
นิเวศวิทยา :
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก
อ้อยที่นำมาคั้นน้ำสำหรับดื่ม
เป็นอ้อยที่ปลูกบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินเหนียว
ประชาชนเรียกว่า อ้อยเหลือง หรือ อ้อยสิงคโปร์
นิยมปลูกกันมากในบริเวณจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
สุพรรณบุรี และนครปฐม เป็นต้น
ประโยชน์ :
คุณค่าทางโภชนาการ อ้อย มีน้ำตาลซูโครสสูงมาก
มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสเล็กน้อย และมีสารอื่นๆ
ใช้เป็นยา น้ำเชื่อม
ที่มีความเข้มข้นคามขนาดที่ฟาร์มาโคเปียกำหนดไว้
สามารถใช้เป็นสารกันบูด และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
ใส่แผลเรื้อรัง ทั้งต้น ใช้รักษาปัสสาวะพิการ
รักษาขัดเบา แก้อาการช้ำ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ ต้น
แก้ไข้ แก้คอแห้งกระหายน้ำ รักษาอาการโรคไซนัส
เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาอาการสัมประชวร รักษาไข้จับใน
ชานอ้อย
นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดเป็นผง รักษาฝีอักเสบ
และแผลใต้ผิวหนังเรื้อรัง
ตำรายาไทยใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด
๗๐-๙๐ กรัม หรือแห้ง ๓๐-๔๐ กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำ
แบ่งดื่มวันละ ๒ ครั้งก่อนอาหาร แก้ไตพิการ
หนองในและขับนิ่ว แพทย์พื้นบ้านใช้ขับเสมหะ
รายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในสัตว์ทดลอง
ที่มา : หนังสือ "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน" เล่ม ๕
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด้จพระ เจ้าอยู่หัว, |
|