|
หงอนไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Celosia
argentea L. var. cristata
(L.) Kuntze
วงศ์ :
AMARANTHACEAE
ชื่อสามัญ
: Common cockscomb, Crested celosin
ชื่ออื่น :
กระลารอน (เขมร-ปราจีนบุรี) ชองพุ
ซองพุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอกด้าย ด้ายสร้อย
ร้อยไก่ หงอนไก่ (ภาคเหนือ) พอคอที
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หงอนไก่ดง (นครสวรรค์)
หงอนไก่ไทย หงอนไก่ฝรั่ง หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก
ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 20-90 ซม.
ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบข้อของลำต้น
รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 10-15
เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวหรือม่วงแดง
ย่นเล็กน้อย เส้นกลางใบสีชมพู ดอก
สีขาวเงินขนาดเล็กแทรกอยู่ในกลีบประดับ
ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายต้น
กลีบประดับอัดกันแน่น ม้วนงอเหมือนเหงอนไก่ มีหลายสี
เช่น แดง เหลือง ชมพู ขาว หรือสองสีในดอกเดียวกัน
ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 8-15 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลม
มีเมล็ดจำนวนมาก ทรงกลม แบน เปลือกแข็ง สีดำเป็นมัน
ประโยชน์ :
เป็นไม้ประดับแปลง ให้ดอกสวยสวยงาม
สีสรรสุดุดเด่น หรือเป็นไม้ตัดอก ทำดอกไม้แห้ง
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบ ห้ามเลือด ดอก
แก้บิด ริดสีดวงทวาร อาเจียนเป็นเลือด
ประจำเดือนไม่ปกติ เมล็ด แก้ริดสีดวงทวาร บิด
ถ่ายเป็นมูกเลือด ลดความดันเลือด ราก แก้ไข้ ท้องอืด
บำรุงธาตุ แก้หืด ขับเสมหะ
|
|