น้ำค้างกลางเที่ยง, หญ้าหงอนเงือก
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Merdannia
gigantea ( Vahl ) G.Brückn
วงศ์ :
COMMELINACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
น้ำค้างกลางเที่ยง (สุราษฎร์ธานี) ว่านมูก (หนองคาย)
หงอนพญานาค ไส้เอียน (อุบลราชธานี) หญ้าหงอนเงือก
(เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
พืชล้มลุก ลำต้น : สูงประมาณ
1-2 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ใบรูปดาบ กว้าง 4.12 มม. ยาว
15-40 ซม. ออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด
ดอกสีม่วงอ่อนหรือม่วงน้ำเงิน สีขาว และสีชมพู
ซึ่งค่อนข้างหายาก กลีบดอก 3 กลีบ
กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบด้านข้างทั้ง 2 กลีบ
ยามเช้าจะหุบดอก แล้วจะบานเมื่อมีแสงแดด
ส่วนกลางของดอกมักมีหยดน้ำติดอยู่
ออกดอกมากในเดือนกันยายน-ตุลาคม
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดตามธรรมชาติ
พบขึ้นบริเวณลานดินทรายที่มีน้ำขังหรือทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงๆ
ที่ชุ่มชื้น
จุดที่มีหงอนนาคทุ่งใหญ่ที่สุดของไทยอยู่ที่ภูสอยดาว
นอกจากนี้ยังพบได้อีกหลายแห่งเช่น เขาสมอปูน ทุ่งโนนสน
เขาใหญ่ และอีกหลายที่
ประโยชน์ :
เป็นพรรณไม้ขึ้นประดับป่าธรรมชาติที่สวยงาม
|