มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Aegle
marmelos (L.)
Correa ex Roxb.
วงศ์ :
Rutaceae
ชื่อสามัญ
: Beal fruit tree, Bengal quince
ชื่ออื่น :
กะทันตาเถร, ตุ่มตัง, ตูม (ปัตตานี); พะโนงค์ (เขมร);
มะตูม (ภาคกลาง, ภาคใต้); มะปิน (ภาคเหนือ); มะปีส่า
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร
เปลือกต้นเรียบสีขาวอมเทา หรือน้ำตาลอมเหลือง
บริเวณกิ่งก้านมีหนามแข็งตรง ยาวประมาณ 2.5 ซม.
ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ
รูปรีหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม.
ขอบใบหยัก เป็นคลื่น ผิวใบเรียบเป็นมัน
ใบย่อยตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยที่อยู่ข้างๆ 2 ใบ
ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพส
ดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบ
ยาว 0.6-0.8 ซม. สีขาว มีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้ จำนวนมาก
เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบรูปทรงกระบอก
ภายในมีประมาณ 1 ช่อง ผล
แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ดรูปไขหรือกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง
7-10 ซม. สีเขียว เนื้อภายในนิ่มสีเหลืองหรือส้มเหลือง
เมล็ด จำนวนมกา
มะตูมเป็นไม้พื้นเมืองของอินเดีย ศรีลังกา พม่า
อินโดนีเซีย ขึ้นกลางแจ้ง ทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้ง
ในประเทศไทยพบขึ้นทุกภาค ในป่าเบญจพรรณ
ระยะเวลาการออกดอกและผล ประมาณเดือน สิงหาคม-ตุลาคม
ประโยชน์ :
ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลดิบและผลสุก
รับประทานได้ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร
ผลอ่อนเป็นยาบำรุงธาตุ เจริญอาหาร ผลแห้งชงกับน้ำ
เป็นยาบำรุง เปลือกผลนำมาบดให้ สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
ยางจากผลดิบผสมสีเทาแทนกาว
ชาวอินเดียถือว่ามะตูมเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์และคนไทยนำมาใช้ในพิธีมงคลต่างๆ
|