|
เขยตาย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Glycosmis
pentaphylla (Retz.)
DC.
วงศ์ :
Rutaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น : กระรอกน้ำ,
กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี); กระโรกน้ำข้าว, เขยตาย,
ลูกเขยตาย (ภาคกลาง); เขนทะ (ภาคเหนือ); ตาระแป
(มลายู-ยะลา); น้ำข้าว (ภาคกลาง, ภาคใต้); ประยงค์ใหญ่
(กรุงเทพมหานคร); พุทธรักษา (สุโขทัย); มันหมู
(ประจวบคีรีขันธ์); ส้มชื่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,
ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร
มีขนสั้นนุ่มที่กิ่งก้าน ใบ ประกอบ 3-5 ใบ กว้าง 3.5-5
ซม. มีใบย่อย 2-5 ใบ เรียงสลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว
12-18 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปรีหรือรูปไข่
โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม ขอบใบด้านบนและด้านล่างเกลี้ยง
ดอก ช่อ แบบช่อแยก แขนง ดอกย่อยมีก้าน
เรียงสลับบนแกนกลาง
แต่ละช่อย่อยมีดอกดอกย่อยไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่ม
ก้านช่อยาว 1.5-3 ซม. ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน
ดอกย่อยขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม.
วงกลีบเลี้ยงเป็นแฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม
กลีบดอกจำนวน 5 อัน สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน
เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน
อยู่เหนือวงกลีบ ผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก รูปกลม
สีชมพู กว้างและยาวประมาณ 1 ซม.
เป็นพืชเขตร้อนของทวีปเอเชีย
และออสเตรเลีย ออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-ธันวาคม
ดอกมีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์โดยการชำกิ่ง ตอนกิ่ง
และเพราะเมล็ด
ประโยชน์ :
รากมีรสขื่น รับประทานเป็นยาแก้พิษ
ฝีภายในและภายนอก พิษแมลง พิษงู ขับน้ำนม
ดอกและผลตำทารักษาหิด รากแก้ไข้ และโรคผิวหนังพุพอง
ผลสุกรับประทานได้
ที่มาของข้อมูล :
พรรณไม้หอม, กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , พ.ศ.2542
|
|