ช้างงาเดียว
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Luvunga
scandens (Roxb.)
Buch.-Ham. (Paramignys
Scandens Craib.)
วงศ์ :
Rutaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ช้างงาเดียว (จันทบุรี); เดือยไก่ (สตูล);
หนามเกียวไก่, หนามคือไก่ (ภาคเหนือ); หนามคาใบ,
หนามเดือยไก่ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้รอเลื้อย เลื้อยได้ไกลถึง 25 – 30 เมตร ใบเดี่ยว
เมื่อยังอ่อนเป็นใบเรียวยาวขอบขนาน ขนาด 12 x 2 ซม.
เมื่อต้นโตขึ้นใบจะมีลักษณะเป็น 3 ใบย่อย
ออกจากจุดเดียวกัน และขนาดเท่าๆ กัน 10 x 5 ซม.
มีหนามโค้งงอออกตรงข้ามกับใบ ขนาด 4 ซม. คล้ายงาช้าง
ดอกสีขาว เป็นช่อขนาดเล็กมี 5 กลีบ ผลกลมเมล็ดเดี่ยว
พรรณไม้นี้มักพบขึ้นเองในป่าบนเขาสระบาป
จังหวัดจันทบุรีมีมาก
ประโยชน์ :
ราก จะมีรสขื่นปร่า ใช้รักษาพิษฝีภายใน
รักษาโรคไตพิการ รักษากษัย และปัสสาวะพิการ
|