|
หัสคุณ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Micromelum
minutum (G.Forst.)
Wight & Arn
วงศ์ :
Rutaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กะม่วง, สมุยช้าง, หมุยช้าง (ยะลา); กันโทร้ก (เขมร-สุรินทร์);
กาจับลัก, จี้ปุกตัวผู้, จี้ย้อย, มองคอง, หญ้าสาบฮิ้น
(ภาคเหนือ); คอมขน, สามโซก (เชียงใหม่); ฉี้, ลิ้นชี่,
สาบแร้งสาบกา (จันทบุรี); ชะมุย (ชุมพร); ดอกสมัด,
สะแบก (อุบลราชธานี); เพี้ยฟานดง, สมัดดง, สมัดต้น,
สมัดใหญ่ (เลย); มรุยช้าง, ลำผีพ่าย (ตรัง); มุยขาว (ประจวบคีรีขันธ์);
สมุย (สุราษฎร์ธานี); หมอน้อย (อุตรดิตถ์); หมุยขน (นครศรีธรรมราช);
หวด (ลำปาง); หัสคุณ (สระบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร
กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเทา ใบประกอบแบบขนนก
เรียงสลับใบย่อย 7 – 15 ใบ รูปไข่ กว้าง 2 – 4 ซม. ยาว
3 – 7 ซม. ปลายแหลม รูปใบเบี้ยว
ผิวใบด้านบนเกือบเรียบถึงมีขนสั้นๆ ท้องใบมีขนบางๆ
ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นจำนวนมาก
กลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือขาวแกมเหลือง ผลสดรูปกระสวย
หรือรูปไข่ เมื่ออ่อนสีเขียว และเมื่อแก่สีแดง
ประโยชน์ :
ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ราก
ผสมรากปลาไหลเผือกฝนน้ำซาวข้าวกิน รักษานิ่วในไต
ตำรายาไทยระบุว่า เป็นยารสเผ็ดร้อน แก้หืด ขับพยาธิ
แก้เสมหะและลมทั้งปวง ขับลม ต้น ขับลม แก้ไอ
ขับพยาธิไส้เดือน ผล เป็นยาถ่าย ดอก
ขับเสมหะลงสู่คูถทวาร ราก ขับเลือดและหนอง
พอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด ใบ ขับลม แก้ไข้
หืด ไอ ใบและเปลือก เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก
(เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก)
สารสกัดต้นมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง
ที่มาของข้อมูลด้านประโยชน์ :
สมุนไพรพื้นบ้านลานนา คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ,พ.ศ.2539
|
|