สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

Rutaceae








แก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Murraya paniculata (L.) Jack
วงศ์ :  Rutaceae
ชื่อสามัญ :  Orange jasmine

ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี); แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง); แก้วขี้ไก่ (ยะลา); แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ); แก้วลาย (สระบุรี); จ๊าพริก (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีแกนกลางใบยาว 3-15 ซม. ประกอบด้วยใบย่อย 3-9 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยสีเขียวเป็นมันและมีจุดต่อมน้ำมันบนแผ่นใบ ใบย่อยเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาดยาว 2-7 ซม. กว้าง 1-3 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเกิดแบบช่อเชิงหลั่นสั้นๆ เกิดตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ขนาดยาว 1-1.5 ซม. กว้าง 4-6 มม. ร่วงหล่นง่าย เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูมี 2 ขนาด สั้นสลับยาว อับเรณูขนาดเล็ก ยอดเกสรเพศเมีย เป็นแผ่นกลมเล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาว 7 มม. รังไข่ขนาดเล็ก ผลทรงรี หรือทรงไข่ ขนาดยาว 1 ซม กว้าง 5 มม. เมล็ดร๔ปข
ประโยชน์
:
สีจากใบแก้วใช้ย้อมไหมให้สีเขียว  นอกเหนือจากใช้เป็นไม้ประดับที่มีดอกหอม ในทางเภสัชใช้ปรุงเป็นยาขับระดู เรียกว่ายาประสะใบแก้ว นอกจากนั้นใช้เป็นยาแก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ บำรุงโลหิต เนื้อไม้ใช้ทำหีบ เครื่องเรือน เรื่องมือเกษตร และวัสดุใช้งานอื่นๆ อาทิ ด้ามมีด คาน ไม้ถือ หวี ด้ามร่ม ใช้แกะสลักเครื่องดนตรีไทย ซออู้ ซอด้วง น้ำมันหอมระเหยใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง