ปอทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Hibiscus
tiliaceus L.
วงศ์ :
Malvaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ขมิ้นนางมัทรี, ผีหยิก (เลย); บา (จันทบุรี); ปอทะเล,
ปอฝ้าย (ภาคกลาง); ปอนา (ภาคใต้); โพทะเล
(กรุงเทพมหานคร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร
ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำ
ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา
มีช่องระบายอากาศเป็นแนวตามยาวลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ ใบรูปหัวใจ กว้าง 7.5-15 ซม. ยาว 8-15
ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักถี่
ผิวใบด้านบนเกลี้ยง
ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนรูปดาวสีขาว
แผ่นใบหนาคล้ายหนัง เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 7-9 เส้น
และที่เส้นกลางใบข้างละ 4-6 เส้น ก้านใบยาว 2-7 ซม.
ดอก สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง กลางดอกสีแดงเข้ม
ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง
ช่อดอกยาว 8-12 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีน้ำตาล
มีขนทั้งสองด้าน ปลายแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง
ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 ซม. ผล ผลแห้งแตก
รูปทรงไข่เกลือบกลม ขนาด 1.5-2 ซม. เปลือกมีขนละเอียด
หนาแน่น เมื่อแก่แตกเป็น 5 พู เมล็ดเล็กมีจำนวนมาก
พบขึ้นตามชายทะเล
แม่น้ำลำคลอง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย
ดอกออกประมาณเดือน มิถุนยาย-สิงหาคม
หรือมีดอกผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ :
ใบ บดเป็นผงใส่แผลสด
แผลเรื้อรัง เปลือกทำให้อาเจียน
แช่น้ำดื่มแก้โรคทางเดินอาหาร รากแก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ระบายท้อง เปลือกใช้ทำเชือก ใบเป็นอาหารของวัวควาย
|