เสี้ยวใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Bauhinia malabarica
Roxb. & Barneby Donn.Sm.
วงศ์ :
Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
คังโค (สุพรรณบุรี); แดงโค (สระบุรี); ป้าม
(ส่วย-สุรินทร์); ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ); เสี้ยวส้ม
(นครราชสีมา); เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 3-15 เมตร ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปคล้ายไตหรือโล่ ปลายใบเว้าเป็น 2 พู
พูกลมกวาง ปลายเว้ากว้าง โดยเว้าประมาณ 1/5 - 1/6
ของความยาวใบ เส้นใยย่อย 7-11 เส้น ดอก สีขาว
ออกเป็นช่อเชิงหลั่นประกอบ ห้อยลง
กลีบเลี้ยงรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงกระบอกแกมรูปกรวย
สีเขียว ปลายแยกเป็น 5 แฉก โดยเรียงเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ
2 กลีบ 2 กลุ่ม อีกหนึ่งมี 1 กลีบ
กลีบเลี้ยงค่อนข้างตั้ง กลีบดอกแยก รูปใบหอก โคนสอบ
ปลายแหลมหรือเป็นติ่งมน กลีบตั้ง โคนกลีบสีเขียว ผล
เป็นฝักไม่แตก รูปแถบ เกลี้ยง มีเมล็ด 10-30 เมล็ด
ประโยชน์ :
ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม
|