อรพิม
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Bauhinia
winitii
Craib
วงศ์ :
Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
คิ้วนาง, อรพิม (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เถาขนาดใหญ่ มีมือเกาะ
ปกคลุมด้วยสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงที่กิ่งก้าน
หูใบขนาดเล็ก ร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2-4.5
ซม. ยาว 2.7-4.5 ซม. ก้านยาว 0.6-1.3 ซม.
แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปร่างค่อนข้างกลมโคนใบรูปหัวใจ
ปลายหยักเป็น 2 แฉกเข้ามาถึงที่โคนใบ
เกิดช่องว่างเป็นระยะห่างระหว่างสองแฉก 0.8-1.6 ซม.
ปลายของแต่ละแฉกมน ขอบใบเรียบ เส้นใบมี 4 คู่
ผิวใบด้านบนเกลี้ยง
ปกคลุมด้วยขนสั้นประปรายที่ผิวใบด้านล่าง
ดอกช่อแบบช่อกระจะ
ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลางลดหลั่นตามลำดับจากบนลงล่าง
ช่อดอกยาว 13-17 ซม. ก้านช่อยาว 1-2.5 ซม.
ดอกย่อยประกอบด้วย วงกลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ แยกกัน
ปลายของแต่ละแฉกแหลม ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง
กลีบดอกจำนวน 5 กลีบ แยกกัน แบ่งเป็นกลีบกลาง กว้าง
0.4-0.6 ซม. ยาว 0.5-0.8 ซม. สีเหลืองครีมรูปไข่กลับ
กลีบคู่ข้างและกลีบคู่ล่าง ขนาดเท่ากัน กว้าง 2.3-3.5
ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน
อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบฝักถั่ว แบนเกลี้ยง มี 2-4 เมล็ด
เมื่อแก่เต็มที่ฝักแตก กว้าง 3-5.7 ซม. ยาว 12-25 ซม.
ก้านผลยาว 6-9.5 ซม.
เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย
ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ
เปลือกไม้ใช้เคี้ยวกับหมาก
และเส้นใยจากเปลือกไม้ใช้ทำเชือก
|