ศรีตรัง
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Jacaranda filicifolia
(Anderson) D.Don
วงศ์ :
Bignoniaceae
ชื่อสามัญ
: Jacaranda , Green
Ebony
ชื่ออื่น :
แคฝอย (กรุงเทพมหานคร); ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-10 เมตร ผลัดใบ
เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมขาว
แตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาวคล้ายกระดาษ ใบ
เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย
12-21 คู่ เรียงตรงข้าม
ใบรูปขอบขนานแกมรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาดเล็ก
กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม
โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบหลักยาว
7-11 ซม. ก้านใบประกอบยาว 4-8 มม. ไม่มีก้านใบย่อย ดอก
สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน
ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ
ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5-9 ซม.
กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก
ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 ซม.
ผลแห้งแตกเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว
2.2-2.5 ซม. เมล็ดมีปีกจำนวนมาก
ศรีตรัง มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้
จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม-มีนาคม เป็นผลประมาณเดือน
เมษายน-พฤษภาคม
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ
หมายเหตุ : ศรีตรังมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกันคือ
1.ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ปลายยอด มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า
Jacaranda minosifolia D.Don
2.ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ซอกใบตามกิ่งและปลายยอด
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Jacaranda
filicifolia D.Don
ชนิดที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทยได้แก่ชนิดที่
2 ( Jacaranda filicifolia D.Don ) |