สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

Bignoniaceae

องอุไร
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tecoma stans   (L.) Kunth
วงศ์ : Bignoniaceae

ชื่อสามัญ :  Yellow Bell, Yellow Elder
ชื่ออื่น ดอกละคร (เชียงใหม่) พวงอุไร สร้อยทอง (กรุงเทพฯ)

ฤดูกาลออกดอก ตลอดปี

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และ ตอนกิ่ง

การแพร่กระจายพันธุ์ เขตร้อนของทวีปอเมริกา

การใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ  ประโยชน์ทางเภสัช พบข้อมูลในต่างประเทศว่าใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับปัญหาทางเดินอาหาร ( Medicinal applications: used against diabetes and digestive problems.)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทองอุไรเป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร  ลำต้นตั้งตรง ใบ  เป็นใบประกอบแบบคล้ายขนนก  2 ชั้น กว้าง 14-16  ซม.  ยาว  20-23 ซม. ก้านใบยาว 9-12  ซม. แกนกลางยาว 12-14 ซม.  ก้านใบย่อย ยาว 0.4-0.5 ซม. ใบย่อยมีจำนวน 5-11 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาง 5-6 ซม. เรียงตรงข้ามกัน  ตัวใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปไข่  แกมรูปหอก  ฐานใบสอบ ขอบจักเป็นซี่ฟัน ปลายแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษเกลี้ยง  ดอก  เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะ ก้านช่อ ยาว 7-11 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม เส้นผ่าศูนย์กลางดอกย่อย  2-3 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยงเชื่อมกันปลายแยก 5 แฉก  ปลายแหลม มีสีเขียว กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีสีเหลืองสด เกสรเพศผู้ มีจำนวน 4 อัน มีสองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย มีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ  ผล  เป็นผลแบบผลแห้งแตก ยาวประมาณ 16 ซม.
โรคพืชที่อาจพบ
โรคราสนิม ซึ่งเกิดได้ทั้งในพืชผัก และไม้ประดับ
ลักษณะอาการของโรคราสนิม ตามตัวอย่างที่พบได้แก่ ราสนิมของถั่วเหลือง  ในการป้องกันโรคราสนิม ถ้าไม่ต้องการใช้ยาที่เป็นสารเคมี ก็ยังมีพืชสมุนไพรที่ที่หาได้ง่าย สามารถใช้ป้องกันกำจัดได้ผลดี นั่นคือ กระเทียม (อ่านรายละเอียดและวิธีใช้ได้ที่นี่ค่ะ)  ทดลองใช้ดูนะคะ ได้ผลอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ

ความรู้เกี่ยวกับต้นก้ามปู หรือจามจุรี ดูได้ที่นี่ค่ะ
อ้างอิง
: พรรณไม้หอมในสวนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ , กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์









 

 

 

ลักษณะใบและดอก
ผลเป็นฝัก
เมล็ดแห้ง
โรคราสนิมในถั่วเหลือง