มะม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Mangifera indica
L.
วงศ์ :
Anacardiaceae
ชื่อสามัญ
:
Mango
ชื่ออื่น : ขุ
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); โคกแล้ะ (ละว้า-กาญจนบุรี);
เจาะช้อก, ช๊อก (ชอง-จันทบุรี); โตร้ก (ชาวบน-นครราชสีมา);
เปา (มลายู-ภาคใต้); แป (ละว้า-เชียงใหม่); มะม่วง,
มะม่วงบ้าน (ทั่วไป); มะม่วงสวน (ภาคกลาง); สะเคาะ,
ส่าเคาะส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะวาย (เขมร);
หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ผลยืนต้นเขตร้อน ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่ม สูงประมาณ 5-10
เมตร ลักษณะลำต้นกลม
การแตกกิ่งแขนงจากลำต้นหลักจะอยู่ในระดับต่ำ
เปลือกลำต้นมีสีด่างขาวเป็นวงกว้าง ใบ
เป็นแบบใบเดี่ยว (simple)
รูปทรงยาว (oblong)
ใบเกิดบนกิ่งแบบสลับ แผ่นใบหนาแข็ง
ก้านใบเรียวยาว 6-7 ซม. โคนก้านใบบวม ขอบใบเรียบ
ผิวใบเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 5.5-6.5 ซม.
ยาวประมาณ 24-25 ซม. ดอก เป็นช่อ ดอกแบบ
panicle ออกตามปลายกิ่ง
ก้านดอกรูปทรงกรวยคว่ำ มีสีแดงอมชมพู
ดอกประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ในช่อเดียวกัน
มีกลีบรองและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ
ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ที่ใช้ได้เพียง 1 อัน
ที่เหลืออีก 4 อันเป็นเกสรตัวผู้ที่ไม่พัฒนา
สำหรับดอกสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยรังไข่ทรงกลมแบบ
superior ovary มีก้านชูเกสรตัวเมีย (style)
1 อัน และมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผล
ค่อนข้างเล็ก ติดผลดกเป็นพวง รูปทรงผลกลมแบนเล็กน้อย
ฐานผลกว้างแล้วสอบเข้าสู่ปลายผล ปลายผลมน
ผลกว้างประมาณ 5.5-6 ซม.
ผลเมื่อสุกเปลือกจะมีสีเหลืองอมเขียว
เนื้อภายในสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ด
คล้ายรูปหัวใจ ค่อนข้างไปทางแบน
มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง มีเสี้ยนติดเปลือกเมล็ดใน 1
เมล็ด เมื่อเพาะจะได้ต้นกล้าหลายต้น (polyembyonic)
การขยายพันธุ์
ท้องถิ่นภาคใต้นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดอย่างเดียว
การใช้ประโยชน์
:
ท้องถิ่นทางภาคใต้นิยมใช้ผลดิบมาเป็นอาหารมากกว่าผลสุก
ในทางสมุนไพรเหมือนกับมะม่วงทั่วไปคือ ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน
กระหายน้ำ ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง
ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น
ขับพยาธิ ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น
เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้ เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม
แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล
แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
|