มะปราง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Bouea
macrophylla Griff
วงศ์ :
Anacardiaceae
ชื่อสามัญ
:
Marian Plum
ชื่ออื่น :
มะปราง (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลม
มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโตมีขนาดสูง 15-30
เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง
ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว
ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร
ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง
ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ
เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน)
ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม
ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล
ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล
ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม
เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์
รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด
เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด
ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย
เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม
ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1
ต้น
การใช้ประโยชน์ :
ผลสุก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด
มีน้ำตาล มีวิตามินซีและวิตามินเอสูง ธาตุฟอสฟอรัส
แคลเซียม และอื่น ๆ ผลดิบ
มีกรดอินทรีย์และวิตามินซีสูงกว่าผลสุก มีธาตุแคลเซียม
ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ ประโยชน์ทางยา
รากใช้เป็นยาถอนพิษไข้ และถอนพิษผิดสำแดง ใบ
ตอพอกแก้ปวดศีรษะลูก มีรสเปรี้ยวอม หวาน แก้เสมหะ
กัดเสมหะในคอ แก้เสลดทางวัว แก้น้ำลายเหนียว และฟอกโลหิต
|