|
มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Anacardium occidentale
L.
วงศ์ :
Anacardiaceae
ชื่อสามัญ
: Cashew Nut
Tree
ชื่ออื่น :
กะแตแก
(มลายู-นราธิวาส); กายี (ตรัง); ตำหยาว, ท้ายล่อ,
ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้); นายอ (มลายู-ยะลา);
มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์); มะม่วงกุลา, มะม่วงลังกา,
มะม่วงสิงหน, มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ); มะม่วงทูนหน่วย,
ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี); มะม่วงยางหุย,
มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง); มะม่วงไม่รู้หาว,
มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง);
มะม่วงสิโห (เชียงใหม่); มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน);
ยาโงย, ยาร่วง (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร
ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ขนาดกว้าง 7.5-10
เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบมน ช่อดอกยาว 15-20
เซนติเมตร โดยแตกออกจากซอกใบและปลายกิ่ง
กลีบดอกเริ่มแรกจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู
มีการพัฒนาฐานรองดอกให้ขึ้น มีลักษณะคล้ายผลชมพู่
สีเหลืองแกมชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง
เนื้อในนิ่ม ที่ปลายจะมีผลติดอยู่เป็นรูปไต
ลักษณะเปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมเทา ยาว 2.5-3 เซนติเมตร
ความแตกต่างของฐานรองดอก หรือขั้วผล ทำให้แบ่งมะม่วงหิมพานต์ออกเป็น
3 varieties คือ
Americanum
ซึ่งลักษณะก้านชูอับเรณูยาว ไม่มีอับเรณู
ขั้วผลโตกว่าผลจริง 10 เท่า และ
Indicum ซึ่งก้านชูอับเรณูยาวเช่นกัน
แต่มีอับเรณูหนา และขั้วผลโตกว่าผลจริงประมาณ 3 เท่า
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
การใช้ประโยชน์ :
ทางอาหาร ฐานรองดอก
ที่พองโตเหมือนผลมีกลิ่นหอมรับประทานได้ ใบอ่อนเป็นผัก
ผล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเมล็ด
นำมาคั่วหรืออบรับประทาน ทางสมุนไพร ผล ใช้ฆ่าเชื้อ
ขับปัสสาวะ เมล็ด แก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนัง เปลือก
แก้บิด ยอดอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร ยาง ทำลายตาปลา
กัดทำลายเนื้อร้ายที่ด้านเป็นปุ่มโต น้ำมัน
ใช้ฆ่าเชื้อ รักษาโรคเรื้อนแก้บาดแผลเน่าเปื่อย
|
|