ตีนเป็ดทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Cerbera
manghas L.
วงศ์ :
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
ตีนเป็ดทราย (ปัตตานี); ตีนเป็ดเล็ก (ภาคกลาง);
เทียนหนู, เนียนหนู (สตูล); ปงปง (พังงา); ปากเป็ด
(ตราด); มะตากอ (มลายู-นราธิวาส); รักขาว (จันทบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูง 5 - 10 เมตร เปลือกเรียบสีเทา มียางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง
อยู่เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปขอบขนาน แกมรูปไข่
ถึงรูปไข่กลับยืดตัว ขนาด 4-7 x 14-25 ซม. ปลายใบป้าน
ฐานใบแคบ ขอบใบเรียบ เส้นแขนงงใบโค้ง เหมือนคันศร
ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ดอก
ออกดอกที่ปลายกิ่ง เป็นแบบช่อกระจุกแน่น มีกลีบเลี้ยง
5 กลีบ ติดทนสีขาวแกมเขียวอ่อน แต่ละแฉกมีขนาด 0.5-0.6
x 0.5-2 ซม. วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกสีแดง
โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดปากแตร ยาว 2.5-4 ซม.ปลายหลอดแยกออกเป็น
5 กลีบ แต่ละกลีบยาว 2-2.5 ซม. กลีบดอกสั้นกว่าหลอด
ผล รูปไข่หรือรูปรี ขนาด 4-6 x 5-98 ซม.
มักอยู่เป็นคู่ ผิวสีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกเป็นสีม่วง
แต่ละผลมี 1- 2 เมล็ด ออกดอกผล ตลอดทั้ง ปี
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกและผลสวยงามแต่ผลมี
cardiac glycoside
มีความเป็นพิษสูงและก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
|