รำเพย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Thevetia
peruviana (Pers.)
K. Schum.
วงศ์ :
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
กะทอก, กระบอก, บานบุรี, ยี่โถฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร);
แซน่าวา, แซะศาลา (ภาคเหนือ); รำพน, รำเพย (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มสูงได้ถึง 4
เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใหญ่ ใบ เดี่ยว รูปเรียวยาว
ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบขนาน แผ่นใบแคบมาก ใบจัดแบบสลับ
ดอก เดี่ยว หรือเป็นช่อสั้นๆ มีดอก 3 สี คือ
ต้นดอกสีขาว ดอกสีเหลือง และดอกสีส้ม
กลีบดอกรูปคล้ายกรวย โคนติดกัน แปลายแบ่งออกเป็น 5
กลีบ จัดซ้อนกัน ผล เป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม
สีเขียว ห้อยลง เมื่อแก่จัดสีดำ
ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
ประโยชน์ :
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
น้ำยางและเมล็ดมีพิษ สารพิษ : เป็นพวก glycosides
thevetin, thevetoxic ออกฤทธิ์คล้าย digitalis
แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า
การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนัง
จะมีอาการแพ้เป็นผื่นคัน แดง แสบ
ถ้าเคี้ยวเมล็ดจะรู้สึกชาที่ลิ้นและปาก
มีอาการปวดแสบปวดร้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
อาจท้องเสีย ง่วงนอน ม่านตาขยาย ความดันลดลง
หัวใจเต้นผิดปกติ ชีพจรเต้นช้าลง
ถ้ามีอาการมากและรักษาไม่ทันท่วงทีอาจตายได้
(เด็กรับประทาน 1-3 เมล็ด ผู้ใหญ่รับประทาน 8-12 เมล็ด
อาจตายได้)
|