|
ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Streblus
asper Lour.
วงศ์ :
MORACEAE
ชื่อสามัญ
: Siamese rough brush,Tooth brush tree
ชื่ออื่น :
กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ)
ซะโยเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ส้มพอ (เลย) สะนาย
(เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้นไม้ เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5 - 15 ม.
ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม หรือเป็นพู
เป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม
แตกกิ่งต่ำบางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอด
เป็นรูปทรงกลม หรือรูปทรง หรือรูปทรง
กระบอกทึบหรือรูปเจดีย์ กิ่งก้านสาขามาก
กิ่งอ่อนมีขนสากทั่วไป เปลือกนอก สีเทา
ขรุขระอันเนื่องมาจากกิ่งที่เคยแตก เปลือกใน
สีเป็นเส้นใยสีขาว เมื่อสับเปลือกจะมียางสีขาว
เหนียวซึมออกมา ใบ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ
บางทีเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลาย ๆ กว้าง 2 -
3.5 ซม. ยาว 4 - 7 ซม. โคนและปลายใบสอบทู่ ๆ
เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน
ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ เส้นแขนงใบมี 7 - 12 คู่
แตกเยื้องกันไปปลายเส้นจะจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ
เส้นใบย่อยแบบร่างแหหยาบ ๆ เห็นชัดทางด้านท้องใบ
ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ไม่ค่อยเป็นระเบียบนัก
ก้านใบสั้นมากแทบถือว่าไม่มี ใบอ่อน สีเขียวอ่อนใส
ใบแก่ สีเขียวเข้มทึบ ๆ ดอก
ดอกเล็ก ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน
ออกตามปลายกิ่ง ออกเดี่ยว ๆ แต่รวมกันเป็นกระจุก
ดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน กลีบรองกลีบดอก มี
4 กลีบ และติดอยู่จนกลายเป็นกลีบจุกผล
แต่ละกลีบโค้งงุ้ม และเกยซ้อนกันบริเวณขอบกลียด้านข้าง
ดอกเพศผู้สีเขียวอ่อน แต่ละดอกมีเกสรผู้ 4 อัน
ติดทะแยงกับกลีบฐานดอก รังไข่กลม
เกลี้ยงอยู่เหนือโคนกลีบฐานดอก
และเกสรเมียภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย
หลอดท่อรังไข่มีสองหลอดคล้ายเส้นด้าย
หลอดนี้จะติดที่ผลต่อไป ผล
ผลสด กลม เมล็ดโตขนาดเมล็ดพริกไทย
ล่อนหรือเป็นสองพูเล็ก ขนาด 5 มม. มีเนื้อเยื่อหุ้ม
ผลแก่จัดสีเหลือง เมล็ดกลมแข็ง ๆ ซ่อน อยู่
ในเนื้อเยื่อหุ้ม 1 เมล็ด ก้านผล ยาว 2 ซม.
นกชอบกินผลข่อย ซึ่งมีรสหวาน
ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล
ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
เป็นผลระหว่งเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน
การขยายพันธุ์ นิยมใช้รากปักชำ
กล้าข่อยจะเติบโตได้เร็วกว่าใช้กิ่งปักชำหรือเพาะชำจากเมล็ด
แต่โดยที่นกนิยมกินผลจึงช่วยกระจายพันธ์ได้ดี
ประโยชน์ :
ด้านเนื้อไม้
แปรรูป กระดาษข่อย
ที่ใช้ทำสมุดข่อยใชักันมาแต่สมัยโบราณจนบัดนี้
ทำจากไม้ชนิดนี้ กิ่งสดขนาดเล็กใช้สีฟัน
ซึ่งชาวอินเดียนิยม เพราะอ่อนและเหนียว
มียางที่ช่วยให้ฟันทน
ในประเทศพม่าและทางภาคเหนือของประเทศไทย
ใช้ไม้สับผสมมวนบุหรี่พื้นเมือง
ใบข่อยใช้ลูดเมือกจากปลาไหลเพื่อล้างเมืกปลาไหลออกไป
ไม่ให้อาหารเหม็นคาว ด้านเป็นพืชอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร
ผลสุกใช้รับประทานเป็นอาหารนกและสัตว์เล็ก ๆ
ชอบกินเป็นอาหาร ผล
ข่อยมีรสหวาน นกและคนกินได้
ไม่มีการรายงานปริมาณคุณค่าสารอาหารใด ๆ
ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณมากมายเหมือนเป็นหม้อยาใกล้ตัว
ราก รสเมาเบื่อ แก้บาดแผล
ขับปัสสาวะ ขับเมือกันในลำไส้ แก้ไตพิการ
ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ ฆ่าพยาธิ
แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิรำมะนาด
กิ่ง แทนแปรงสีฟัน ทำให้ฟันคงทน
เปลือกต้น แก้โรคทางฟัน ทำให้ฟันทน
แก้แมงกินฟัน รักษาฟัน แก้ปวดฟัน แก้ตัวกิมิชาติในปาก
แก้เหงือกบวม ช่วยให้ฟันแข็งแรง
ทำให้รากฟันยึดกับเหงือกมากยิ่งขึ้น แก้โรคฟันผุ
ฆ่าเชื้อในช่องปาก รักษาเหงือกและฟัน แก้ระมะนาด
บำรุงหัวใจ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ท้องร่วง
แก้ริดสีดวงจมูก แก้ริดสีดวงทวาร ฆ่าพยาธิ
ถอนพิษสัตว์กันต่อย แก็โรคผิวหนัง ดับพิษทั้งปวง
ดับพิษในกระดูกในเส้นเอ็น แก้พยาธิในผิวหนัง
รักษาบาดแผล เป็นยาอายุวัฒนะ
แก่น แก้เบาหวาน แก้แมงกินฟัน แก้ริดสีดวงจมูก
เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้แมงกินฟัน แก้ปวดฟัน
เป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกมันในลำไส้ทำให้คลื่นเหียน
อาเจียน แก้กระษัย แก้ไตพิการ
กระพี้ แก้มะเร็ง แก้ผื่นคัน
ใบ รสเมาเฝื่อน
ตำกับข้าวสารคั้นเอาน้ำดื่มทำให้อาเจียนถอนพิษยาเมาเบื่อ
หรืออาหารแสลง ยาระบายอ่อน ๆ แก้กระหายน้ำ
ยาเป่าละอองไข้ แก้ปวดประจำเดือน
ผล แก้โลหิตและลม เป็นยาอายุวัฒนะ
เมล็ด เป็นยาอายุวัฒนะ แก้โลหิตและลม
ขับลมในลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุ แก้โลหิตเป็นพิษ
เจริญอาหาร แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับผายลม
น้ำมัน ทาแก้ริดสีดวง
ทั้งต้น ต้มใส่เกลือแก้แมงกินฟัน
ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ ฆ่ารำมะนาด แก้ปากเปื่อย
ใช่ย่อยน้ำนม ทาริดสีดวง แก้พยาธิผิวหนัง แก้รำมะนาด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ฆ่าแมลง ก่อเกิดมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย
มีฤทธิ์เหมือนเอนไซม์ Coaulase บำรุงหัวใจ
ยับยั้งพยาธิเท้าช้าง ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ
ต้านมาลาเรีย ยับยั้งเนื้องอก เป็นพิษต่อเซลล์
การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อใช้สารสกัดเปลือกต้นด้วยอัลกอฮอล์ (50%)
ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร
ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งมากกว่า 1 ก/กก
การฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยอัลกอฮอล์ (95%)
เข้าช่องท้องหนูถีบจักรขนาด 112 - 400 มก/กก
พบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดทิงเจอร์จากเปลือกรากเข้าหลอดเลือดดำเมว
ขนาดต่ำสุดที่ทำให้ตาย คือ 10.5 มล/กก
ด้านการเป็นไม้ประดับ
ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ
ปลูกได้ทุกสภาพเดิน มีรูปทรงพุ่มเรือนยอดกลม
กิ่งก้านหนาแน่น สามารถตัดแต่งพุ่มเรือนยอดได้ดี
ไม่ผลัดใบ เลี้ยงเป็นไม้แคระก้ได้รับความนิยม
บางทีใช้ปลูกประดับสนามทั่ว ๆ ไป
แล้วตัดแต่งเป็นรูปสัตว์ป่า น่าสนใจมาก
ที่มาของข้อมูล:
http://thaimedicinalplant.com/default.html |
|