สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละว่า "Sal"
เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ท้งตอนประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้
ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ
ก่อนพุทธศักราช
80 ปี
พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ
จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการที่กรุงเทพวทหะ
อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์
เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ
ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า "สวนลุมพินีวัน" เป็นสวนป่าไม้ "สาละ"
พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบันคือตำบล "รุมมินเด" แขวงเปชวาร์
ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละ
และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร
ซึ่งตรงกับวันศุกร์เพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
คำว่าสิทธัตถะแปลว่า "สมปรารถนา"
อีกตอนหนึ่งก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้
เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจะอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว
ได้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ
ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้
เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ
จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน
ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ
ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ต้นโพธิ
และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือน 6
ตอนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก
จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม
โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่
แล้วพระองค์ก็ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา
(นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน
สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง อยู่ในสกุล "Shorea
" ในวงศ์ "
Diptercaroaceae "
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง
เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง
โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่น ดอก
ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5
กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปี
ปีกยาว 3 ปีก ปีสั้น 2 ปีก บน แต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10 - 15 เส้น
สาละ
Shorea robusta Roxb. เรียกกันว่า "สาละอินเดีย"
เพราะยังมีอีกต้นหนึ่ง เรียกว่า "สาละลังกา" หรือ "ต้นลูกปืนใหญ่" (Cannonball
Tree) เป็นพืชในวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae
(ปัจจุบันจิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae)
มืชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Couroupita guianensis
Aubl.
สาละลังกา
(Couroupita guianensis
Aubl.) 
ลักษณะของพืชต้นนี้ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาล
ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับตามปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ ปลายแหลม โคนสอบ มน
ขอบใบจักตื้นๆ ดอก ช่อใหญ่ ยาว ออกตามโคนต้น ดอก
สีชมพูอมเหลืองและแดง กลิ่นหอมแรง กลีบดอก 4-6 กลีบ แข็ง หักง่าย
เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปโค้ง ผล สด รูปกลม
ผิวผลสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางผละประมาณ 10-20 เซนติเมตร
ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด
|