ต้นโพธิ
ลังกาเรียก "Po Tree" ชาวฮินดูเรียก "Pipal"
หรือ "Bodhi Tree"
เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งอีกชนิดหนึ่ง
ดังความในพุทธประวัติ
ต้นโพธิ
เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (สหชาติ หมายถึงบุคคลหรือต้นไม้ที่เกิดขึ้นในวัน
เดือน ปี เดียวกันกับพระพุทธเจ้า) ต้นโพธินี้เป็น 1 ใน 7 ของสหชาติ
ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะ
ในระหว่างบำเพ็ญพรต เพื่อหาสัจธรรมได้ประทับนั่งที่โคนต้นโพธิ
จนกระทั่งพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
ทุข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อวันเพ็ญเดือน 6
หลังจากพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
แต่ก็ยังต้องทรงทำจิตให้แน่วแน่ตั้งมั่นยิ่งขึ้น จนกิเลสมิอาจรบกวนได้ต่อไป
พระองค์ยังคงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิอีกเป็นเวลา 7 วัน และกล่าวกันว่า
ต้นพระศรีมหาโพธิที่พระพุทธองค์ประทับจนตรัสรู้นั้น
ได้ถูกประชาชนผู้ถือนับถือศาสนาอื่นโค่นทำลายไป แต่ด้วยบุญญาภินิหาร
มื่อนำนมโคไปรดที่รกจึงมีแขนงแตกขึ้นมาใหม่
และมีชีวิตอยู่มานานและแล้วก็ตายไป แล้วกลับแตกหน่อขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ต้นโพธิที่พุทธคยาที่อยู่ในปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นช่วงที่สามของต้นดั้งเดิม
หมายเหตุ คำว่าโพธิ มิได้เป็นชื่อของไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
แต่เป็นชื่อเรียกต้นไม้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ประทับใต้ต้นไม้ต้นนั้นๆ
และได้ตรัสรู้ เป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธ พราหมณ์
และชาวฮินดูให้ความเคารพนับถือย่างสูง (โพธิ แปลว่า เป็นที่รู้
เป็นที่ตรัสรู้ โพธิรุกข หมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับและตรัสรู้
ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธกัสสปะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง พระศรีมหาโพธิ
หรือ โพธิรุกข ได้แก่ "ต้นโพธินิโครธ" สำหรับพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธโคตมะ
พระศรีมหาโพธิ คือต้นไม้ที่ชื่อว่า "ต้นโพธิใบ" )
ลักษณะ
ต้นโพธิเป็นไม้ขนาดใหญ่มาก แตกกิ่งก้านสาขา ผลัดใบ ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง
ผิวใบเป็นมัน เป็นพืชในสกุลเดียวกับไทร กร่าง คือสกุล "Ficus
" อยู่ในวงศ์ " Moraceae "
ไม้ในวงศ์นี้จะมียางสีขาว โคนต้นจะเป็นพูพอนขนาดใหญ่ ลำต้น แตกกิ่งก้านสาขา
ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายยอดจะมีหูใบ
เป็นปลอกแหลมสีน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันหุ้มมิด กิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่มีสีเขียว
ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างเหนียว
ห้อยลง ก้านใบยาว ใบรูปป้อม โคนใบป้าน
หรือเว้าเข้าเล็กน้อยแล้วผายกว้างออกเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดจะคอด
และเป็นติ่งยาวมาก (ประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร)
ติ่งน้บางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวของแผ่นใบ ดอก เป็นช่อกลมๆ
ออกตอนปลายกิ่ง เจริญไปเป็นผล ผล กลมเล็ก สีเขียว
เมื่อแก่จัดสีแดงคล้ำหรือม่วงดำและร่วงหลน
โพธิ ในสกุล
Ficus มี 2 ชนิด คือ โพธิใบ
Ficus religiosa Linn.
ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียก โพธิขี้นก หรือโพธิประสาท มีชื่อวิทยาศาสตร์
F.rumphii Bl.
(Mock Bodh Tree)
ข้อแตกต่างของโพธิ 2 ชนิดนี้คือ ใบและผล
ใบของโพธิขี้นกขนาดใบจะเล็กกว่าของโพธิใบมาก (ติ่งปลายใบไม่เกิน 2
เซนติเมตร) ผลสุกของโพธิขี้นกมีสีดำ ส่วนของโพธิใบจะมีสีแดงคล้ำหรือม่วงดำ
|