นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายของปลวกในประเทศไทย 

 

1   2   3   4   5   6   7   8   9   10  11  12

 

 

        3Microcerotermes

        รูปร่าง่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาล มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.43-1.75 มม. ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.91-1.10 มม. กรามยาว 1.06-1.20 มม. รูปร่างคล้ายเคียว ด้านในกรามทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย (serrate)
        ปลวกสกุลนี้จัดเป็นปลวกชนิดสร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดิน บนต้นไม้ หรือบนโครงสร้างของอาคาร ลักษณะค่อนข้างกลม หรือทรงกรวยแหลม รังดินมักแข็งมากยากที่จะทุบให้แตก ผิวรังหยาบขรุขระ มีติ่งหรือกลีบเล็กๆ ยื่นออกมา โครงสร้างภายในมีช่องระบายอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ในการออกหาอาหาร ปลวกจะทำท่อทางเดินดินขึ้นมาเป็นท่อกลม ลักษณะแห้งแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-0.3 ซม. ลักษณะการกินเนื้อไม้ปลวกสกุลนี้จะกินไปตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้เป็นร่องลึกเข้าไป เนื้อไม้ที่ถูกทำลายจะไม่มีร่องรอยเป็นดำๆ ของขี้ปลวกกระจายอยู่

        4.  Prohamitermes

        รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปไข่ สีเหลืองถึงสีเหลืองน้ำตาล มีความยาวของหัววัดถึงกราม 1.33-2.09 มม. ส่วนกว้างสุดประมาณ 1.22-1.82 มม. กรามยาว 0.76-1.01 มม. โค้งอย่งชัดเจน มีรอยหยักบนกรามทั้งสองข้าง หนวด 14 ปล้อง ริมฝีปากบน (labrum) เป็นรูปสามเหลี่ยม

        5.  Synhamitermes

        รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสั้น ด้านข้างขนานกัน สีเหลืองสว่าง มีความยาวของหัววัดถึงฐานกรามประมาณ 0.99 มม. ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.8 มม. กรามยาว 0.45 มม. เป็นรูปดาบโค้ง โค้งเล็กน้อยที่ส่วนปลาย

        6.  Angulitermes

        รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เห็นเป็นโหนกยื่นยาวไปด้านหน้า (frontal projection) มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม

        7.  Homallotermes

        รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีโหนก (frontal projection) ยื่นไปด้านหน้า มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.37-1.48 มม. ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.99 มม. กรามยาว 1.35 มม. กรามทั้งสองข้างไม่สมมาตรกัน ลักษณะสำคัญของปลวกสกุลนี้คือ ส่วนหัวแคบทางด้านหน้าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนปลายของกรามบิดเล็กน้อย แต่ไม่บิดจนเห็นเป็นรูปตะขอ หนวด 13 ปล้อง

หน้าต่อไป

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   

 

    Home      : ากหนังสือ ความหลากหลายของปลวกในประเทศไทย ,สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้