นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายของปลวกในประเทศไทย 

 

1   2   3   4   5   6   7   8   9   10  11  12

 

 
Subfamily Prorhinotermitinae
        1.  Prorhinotermes

 

        ส่วนหัวของปลวกทหารมีสีเหลือง รูเปิดที่หัว (fontanalle) มีขนาดเล็ก กลม ส่วนมากตั้งอยู่ทางด้านหลัง clypeus หัวเป็นรูปไข่ทรงยาว มีร่องพุ่งไปทางด้านหน้าจาก fontanelle กราม (mandible) รูปดาบ ไม่มีฟัน อกปล้องแรก (pronotum) แบน ขอบด้านหน้าของส่วนหัวที่ต่ำลงมาจากริมฝีปากบน (postclypeus) และสันหนวดมีสีน้ำตาลออกแดงเรื่อ ริมฝีปากบนและหนวดมีสีน้ำตาลอ่อน ออกเหลือง กรามมีสีน้ำตาลออกแดง เรื่องและมีสีสว่างกว่าที่บริเวณฐาน อกปล้องแรกมีขนอยู่เล็กน้อย หัวเป็นรูปไข่ ด้านหน้าแคบ ส่วนกว้างที่สุดอยู่ที่ส่วนฐาน ขอบด้านท้ายของหัวสร้างยื่นออกมาเล็กน้อย ช่องเปิดส่วนหัว (fontanelle) เล็ก กลม และมีร่องพุ่มไปทางด้านหน้า ตา เห็นได้ชัด เป็นรูปไข่กว้าง นูนขึ้นมาเล็กน้อย แผ่นแข็งส่วนหัวที่ต่ำลงมาจากริมฝีปากบน (postclypeus) กว้างมากกว่ายาวเกินกว่าสองเท่า ริมฝีปากบนมีขอบด้านข้างนูนโค้งออกมา ขอบด้านหน้าทรงกลม กว้าง กรามยาว เป็นรูปดาบคล้ายปลวก Coptotermes   แต่ไม่มีรอยหยักที่ส่วนฐาน  แผ่นปิดริมฝีปากล่าง (postmentum) มีความยาวใกล้เคียงกับสองเศษหนึ่งส่วนสองเท่าของความกว้างที่กว้างที่สุด ส่วนที่คอดของแผ่นปิดอยู่ระหว่างขอบด้านท้ายและส่วนที่กว้างที่สุด หนวดมี 17-19 ปล้อง หนวดปล้องที่ 2 สั้นกว่าปล้องที่ 3 เล็กน้อย ในบางตัวอย่างที่ 2  นี้มีสีเข้มกว่าปล้องอื่นเล็กน้อย หนวดเป็นรูปโคนกลับหัว อกปล้องแรกมีขอบด้านหน้านูนโค้งออกมา มีรอยบากตรงกลาง ขอบด้านท้ายไปตัดเป็นรูปป้าน ขอบด้านข้างเป็นทรงกลมกว้าง

 

Subfamily Heterotermitinae
        1.  Reticulitermes

        ส่วนหัวของปลวกทหารมีรูเปิดที่ส่วนหัว (fontanelle) ซึ่ง fontanelle มีขนาดเล็ก กลม  ส่วนมากตั้งอยู่ทางด้านหลัง clypeus หัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านข้างขนาน อกปล้องแรก (pronotum) แบน กรามรูปดาบ ไม่มีฟัน
        ปลวกสกุลนี้จัดอยู่ในพวกกินไม้ ส่วนมากพบเข้าทำลายท่อนไม้และตอไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายกับไม้ใช้ประโยชน์ภายในบ้านเรือน

Subfamily Coptotermitinae
        1.  Coptotermes

หน้าต่อไป

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   

 

    Home      : ากหนังสือ ความหลากหลายของปลวกในประเทศไทย ,สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้