-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อนุภาคดินเหนียวเอื้อประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าชายเลน
พอสรุปได้ดังนี้
- สมบัติทางกายภาพและเคมีของอนุภาคดินเหนียว
อนุภาคของแร่ดินเหนียวมีขนาดเล็กมากกว่า 1/256 มม.
และมีรูปร่างเป็นเกล็ดบางๆ มีพื้นที่ผิวสูงมาก มักเรียงซ้อนกัน
จึงทำให้เกิดมีพื้นที่ภายในระหว่างหลืบที่ประกบกันเกิดขึ้นด้วย
การมีรูปร่างเป็นแผ่น หรือเป็นเกล็ดๆ ทำให้เบา ลอยตัวอยู่ในน้ำได้นานในลักษณะของตะกอนแขวนลอย
(Suspension)
เป็นปริมาณมากโดยเฉพาะในระบบนิเวศป่าชายเลน
-
-
-
ภาพ 9
รูปร่างของอนุภาคดินเหนียว
เป็นแผ่นบางๆมีพื้นที่ผิวสูง ดูดไอออนบวกและสารอินทรีย์ไว้บนพื้นผิว
วางซ้อนกันเป็นหลืบ เกิดพื้นที่ผิวภายใน
การแทนที่กันของธาตุทีเป็นส่วนประกอบทางเคมี
รวมทั้งความเปราะบางแตกหักง่ายของอนุภาคดินเหนียว
ทำให้อนุภาคดินเหนียวมีประจุลบ (Negative Charge)
เกินมา จึงแสดงสมบัติเคมีดึงดูดไอออนของธาตุอื่นๆ
รวมทั้งสารอินทรีย์เข้าไปบนพื้นผิวของมัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอออนบวกของธาตุโลหะต่างๆ หรือดึงดูดเข้าไปในพื้นที่ระหว่างหลืบที่ประกบกัน
(ภาพ 9) ประจุช่วยทำให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้นาน เพราะเกิดการผลักกัน
หรืออาจรวมตัวกันเพราะดูดกัน น้ำหนักมากขึ้นก็จมลงไปสู่พื้นท้องน้ำ
นอกจากนั้นอนุภาคแร่ดินเหนียวยังมีสมบัติแลกเปลี่ยนไอออนบวก (Cation
Exchange) ได้
จึงรับประจุบวกและสารอินทรีย์บนผิวตลอดเวลา ธาตุต่างๆ
ที่เกาะบนผิวรวมทั้งสารอินทรีย์จึงเป็นอาหารอย่างดีแก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในระบบป่าชายเลน
-
ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าชายเลน
พื้นที่ของป่าชายเลน อยู่ในระบบชะวากทะเล หรือ
Estuary
ซึ่งมีความลาดชันต่ำมาก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบต่ำใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล
น้ำจืดที่ไหลมาปะทะน้ำเค็ม จะไหลเอื่อยมาก
กำลังน้อยพาเอาตะกอนมาได้เพียงตะกอนขนาดเล็กเท่านั้น
แม่น้ำบริเวณนี้จะกว้างและตื้น เพราะมีตะกอนทับถมตลอดเวลา
สายน้ำจะไหลคดเคี้ยวแกว่งไกวไปในแนวระดับ
ดังนั้นเมื่อถูกอิทธิพลจากสภาวะน้ำขึ้น - น้ำลง
โดยเฉพาะน้ำขึ้นก็อาจกินบริเวณกว้างขวางเลยขอบเขตของตลิ่งเข้าไปในฝั่งเป็นอาณาบริเวณกว้าง
ตะกอนก็มีโอกาสถูกพัดพาไปตกเป็นบริเวณกว้างใหญ่ ความเค็มของน้ำ (น้ำกร่อย)
จะอยู่ระหว่าง 7 - 15 ppt แล้วแต่ความรุนแรงของน้ำขึ้นน้ำลง
และความใกล้-ไกล จากปากแม่น้ำ
-
-
-
ภาพ 10
ภาพ 11
ระบบเอสชัวรี หรือ
ชะวากทะเล บางแห่งเช่นที่เกาะช้าง จ.ตราด มีการปิดกั้นของปากอ่าว (ภาพ
10,11) โดยเขาสองฟาก เมื่อมีน้ำเอ่อล้นเข้ามาตอนน้ำขึ้น จะถูกปิดกั้นเอาไว้
ทำให้ตะกอนดินเหนียวตกลงมากว้างกระจาย เกิดเป็นที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง
(Tidal Flat)
เป็นบริเวณกว้าง
- กระบวนการทางชีวภาพของป่าชายเลน
-
-
-
ภาพ 12
ด้วยความที่เป็นน้ำกร่อยในระบบนิเวศแบบนี้ จึงมีพืชพรรณเฉพาะ เช่น
โกงกาง แสม จาก ตะบูน เป็นต้น แต่แม้จำนวนชนิดจะไม่มาก
ปริมาณของพืชพรรณกลับมีมาก จึงทำให้มีซากของพืชพรรณต่างๆ อยู่มาก
ช่วยเพิ่มเป็นสารอินทรีย์เข้าสู่ระบบ
ส่วนสัตว์นั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความหลากหลายสูงมากในระบบนิเวศนี้
ความเฉพาะตัวของพืชพรรณบริเวณป่าชายเลน คือ
การมีระบบรากระเกะระกะมากมายของต้นโกงกาง
รวมทั้งรากอากาศของพืชพวกแสม ช่วยยังประโยชน์ให้แก่ตัวอ่อนของสัตว์
ช่วยป้องกันอันตรายจากศัตรู เพราะหลบซ่อนอยู่ได้
ตะกอนที่ลอยเข้าไปก็ติดอยู่ตามราก ก็เป็นอาหารอย่างดีแต่สัตว์ทั้งหลาย (ภาพ
12)