หน้าหลัก                                                                                                                               

 
 
  •          กระบวนการผุพังทางเคมีมีความสำคัญต่อการเกิดดินอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศร้อนชื้นที่มีน้ำมากมีพืชพรรณมากมาย


  • ภาพ 3

  •           ถ้าทุบหินให้แตกออกแล้วสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าเนื้อของหินข้างในมองดูสดกว่าผิวโดยรอบของมัน (ภาพ3) แสดงว่าผิวหินด้านนอกที่สัมผัสอากาศหรืคลุกอยู่กับดินมีการเปลี่ยนแปลงทำให้อ่อนยุ่งลงทำให้เห็นเป็นวงๆ รอบเนื้อในทีสดนั้น  ถ้าเอาของแข็งขีดดูที่ผิวนอกจะรู้สึกมันนิ่มกว่าเนื้อใน นั่นแสดงว่าผิวด้านนอกของหินโดนปฏิกิริยาเคมีตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงทำให้ยุ่ยลง และยิ่งเวลาเนินนานเข้าผิวที่โดนเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นวงหนาขึ้นเรื่อยๆ รุกเข้าสู่เนื้อในที่สดนั้น
              หลายคนคงคิดว่าหินเป็นของแข็งมากๆ  มันจะเกิดปฏิกิริยาเคมีตามธรรมชาติได้อย่างไร  ความจริงคือหินประกอบด้วยแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป และแร่เป็นสารประกอบทางเคมีตามธรรมชาติ (เขียนแทนได้ด้วยสูตรทางเคมี) ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป ดังแผนภูมิต่อไปนี้
              ตัวอย่างเช่นหินปูน (
    Limestone) มีแร่หลักคือ แร่แคลไซ้ท์ (CaCo 3) เพียงอย่างเดียว ส่วนหินแกรนิตประกอบด้วยหลายแร่ เช่น แร่ควอทซ์ เฟลด์สปาร์ แร่ไมก้า เป็นต้น ดังนั้นการผุพังทางเคมีก็เหมือนกับแร่หรือสารเคมีถูกทำปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงไป


  • ภาพ 4

  •           ตัวเข้าไปทำปฏิกิริยา มากจากไหน? น้ำ เป็นตัวสำคัญที่สุด น้ำฝนตกลงมาแล้วแทรกซึมลงไปในหิน (ภาพ 4) อีกตัวหนึ่งเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น ในอากาศ และที่มากที่สุดอยู่ในดินอันเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืชพรรณ ในดินมีปริมาณ CO 2  มากกว่าในอากาศหลายสิบเท่า
              น้ำเมื่อมี 
    CO 2  จะทำปฏิกิริยาได้กรดคาร์บอนิค (H2CO3) ดังสมการ
           
      H2O + CO2 ----> H2CO3  หรือ  H+  + HCO3
              กรดคาร์บอนิคนี้เองที่ให้   H+  ไปทำปฏิกิริยากับแร่ในดินและหิน  หินก็เกิดการผุพัง แร่ที่ประกอบอยู่ในหินจะยุ่ยสลาย พันธะจะแตกออกจากกันเป็นการเกิดการผุพัง และมีการละลายเป็นสารละลายออกไปด้วย หินก็จะแตกออกผุไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีนี้ ผลก็คือเกิดเป็น ดิน ขึ้นมา อาจเป็นดินที่อยู่ที่เดิมบนหินดั้งเดิม หรือ ส่วนที่พัดพาไปตกตะกอนที่ต่ำลงไปก็กลายเป็นดินเช่นกัน (เช่นดินที่เกิดในที่ราบริมแม่น้ำ)

  •  3. กระบวนการทางชีวภาพ ที่เอื้อต่อการเกิดดิน
              เมื่อเกิดดินอันเป็นผลจากการผุพังของหินแล้ว จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตามเข้ามาทันที เช่น  ต้นไม้ จุลินทรีย์ และสัตว์ต่างๆ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็เกิดขึ้น ที่เรียกว่ากิจกรรมของสิ่งมีชีวิต (
    Biological Activities) ลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือมีการสร้าง CO2 ากขึ้น มีการสร้างกรดอินทรีย์มากขึ้น นั่นคือโดยภาพรวมจะมีกรดคาร์บอนิค H2CO3 และกรดอินทรีย์ (Organic Acid) เกิดมากขึ้น H+  ก็จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับแร่ ทำให้กระบวนการผุพังทางเคมีถูกเร่งให้เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ดินที่ถูกสร้างมากขึ้นหนาขึ้น เอื้อต่อการเกิดสิ่งมีชีวิตมากขึ้น เหมือนลูกโซ่เมื่อเกิดขึ้นอย่างหนึ่งก็ต้องเกิดอีกอย่างหนึ่งอย่างเกื้อกูลกัน

                   
                           ภาพ 5                                                                        ภาพ 6
              อีกตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการทางชีวภาพที่เอื้อต่อการเกิดดิน ได้แก่ การเกิดสิ่งมีชีวิตผู้บุกเบิกบนผิวหินอย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นๆไป ตั้งแต่รุ่นแรกที่เป็นสิ่งมีชีวิตขั้นต่ำ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตขั้นสูงขึ้นไป เช่น การเกิดไลเคนส์ขึ้นบนผิวหิน (ภาพที่ 5) ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำสุดแต่สามารถอยู่บนผิวหินได้มองเห็นเป็นวงๆ ที่เรียกว่าผู้บุกเบิกรุ่นแรก (First Succession) ไลเคนส์นี้จะเริ่มเก็บความชื้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ผิวของหินผุพังดังปฏิกิริยาในข้อ 2
              ต่อมารพืชพวกมอสส์ ซึ่งอยู่ในชั้นสูงขึ้นมาก็จะมาอยู่ในวงของไลเคนส์ พวกมอสส์ก็จะช่วยเก็บรักษาความชื้นไว้มากขึ้น ยังประโยชน์ให้แก่ไลเคนส์ นับว่ามอสส์เป็น Secondary Succession หรือผู้บุกเบิกรุ่นที่สอง ต่อมาพืชชั้นสูงกว่าก็จะเกิดตามมา เช่น หญ้า กล้วยไม้ และเช่นเดียวกัน พืชเหล่านี้ก็ทำให้เกิด CO3 มากขึ้น เกิดเป็นการผุพังมากขึ้น มีดินเกิดหนาขึ้น ทำให้พืชชั้นสูงอื่นๆ ตามขึ้นมา (ภาพ 6)

 

หน้าหลัก