เมื่อเริ่มวาดภาพพืช หรือตัวอย่างนั้นๆ
ซึ่งก็เหมือนเป็นเพื่อนเรา จึงจำเป็นต้องดูหน้าตาพิจารณาให้ดี
เราต้องให้ความสนใจกับส่วนต่างๆ
ของพืชที่เราจะเริ่มต้นวาดโดยละเอียด เราควรสำรวจส่วนต่างๆ
ของพืช ตั้งแต่โคนต้นไปจนถึงปลายยอด คือตั้ง ราก-ลำต้น-ใบ-ดอก
ส่วนของราก
ควรสังเกตว่าเป็นรากแบบใด เช่น รากแก้ว รากฝอย รากแขนง
หรือรากที่เป็นหัว เช่น แบบหัวหอม หัวเผือก หัวมันฝรั่ง เป็นต้น
ส่วนของลำต้น
ควรสังเกตลักษณะต้น และผิวต้น
ส่วนของใบ
มีหลายลักษณะที่ควรสังเกต เช่น ลักษณะใบ รูปร่างใบ
เส้นใบ ผิวใบ การจัดเรียงตัวของใบ การติดของใบ
หรือสีใบ เป็นต้น
ส่วนของดอก
ควรสังเกตลักษณะดอก กลีบดอก
หรือการจัดเรียงตัวของละอองเรณู เกสรเพศเมีย
ถ้าเราจะวาดดอกกุหลาบดอกหนึ่ง
เราควรเริ่มจากการร่างภาพทั้งหมดคร่าวๆ โดยใช้ดินสอขนาด
H แล้วเริ่มลงเส้นจากบริเวณกลางดอกก่อน
ตามด้วยส่วนของกลีบดอก แล้วจึงเพิ่มรายละเอียด สำหรับใบ
เริ่มจากร่างภาพ และลงเส้นกลางใบ แล้วจึงเก็บรายละเอียด
การลงสีควรจำไว้ทุกครั้งว่าต้องเริ่มจากสีอ่อนๆ ก่อน
และลงสีเข้มตามหลัง มิฉะนั้นจะทำให้แก้ไขยากในภายหลัง
การวาดภาพด้วยสีน้ำมี 3
วิธีหลักๆ คือ
-
วิธี
Wet-on-wet คือวิธีที่เราสามารถเติมสีในภาพของเราในขณะที่สีเก่ายังไม่แห้ง
เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการความนุ่มนวล
-
วิธี
Wet-on-dry
คือวิธีที่เราเติมสีลงในภาพของเราในขณะที่สีเก่าแห้งแล้ว
-
วิธี
Dry-on-dry
คือวิธีใช้พู่กันที่มีน้ำน้อยมาก มีสีมาก
วาดทับลงไปบนสีเดิมที่แห้งสนิทแล้ว
การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ต้องคำนึงถึงรายละเอียดที่ถูกต้องเป็นสำคัญ
ดิฉันจึงใช้วิธีที่เรียกว่า dry brush
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างงานของดิฉันเสมอ จริงๆ แล้วคำว่า
dry brush หรือพู่กันแห้งนั้น
พู่กันไม่ได้แห้งสนิท แต่มีน้ำน้อยแค่ชื้นๆ มีปริมาณสีมากกว่าน้ำ
เพื่อที่เวลาทาทับลงไปบนงานเดิมที่แห้งแล้ว
สีที่ลงใหม่จะอยู่ข้างบนโดยไม่ลูบเอาสีเดิมๆ ออกด้วย วิธี
dry brush
คือวิธีที่ใช้กับภาพที่แห้งสนิทแล้วคล้ายกับวิธี
wet on dry ต่างกันตรงที่ว่าในขั้นตอนสุดท้ายของวิธี
dry brush
มีจุดประสงค์ที่จะเน้นรายละเอียดของภาพเพิ่มเติม
ดิฉันแนะนำว่าคุณควรเริ่มต้นด้วยวิธี wet on
dry ก่อนตามขั้นตอน 5
ขั้นที่ดิฉันจะแนะนำต่อไปในบทหน้า
แต่ก่อนอื่นคุณต้องสามารถควบคุมปริมาณน้ำ ปริมาณสีที่ใช้
และเทคนิคในการใช้พู่กันของคุณในการวาดภาพ |