|
1. กลุ่มผักกูดหรือเฟิน (Fern & Fern
allies)
|
|
|
เป็นพืชไร้ดอก อาจเป็นเถา เป็นต้น มีเหง้า และไร้ต้น
พบขึ้นบนบก ในน้ำ ตามพื้นดิน ตามก้อนหิน
หรืออาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ในประเทศไทยมี
673 ชนิด จาก 34
วงศ์ และ 132
สกุล สำหรับในหมู่เกาะช้าง เท่าที่พบในเวลานี้ มี
116 ชนิดใน 22
วงศ์ คือ |
Aspleniaceae วงศ์ข้าหลวงหลังลาย
เป็นพืชอิงอาศัย เกาะตามต้นไม้ และก้อนหิน ทุกสภาพ ป่า
ส่วนใหญ่เป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบแบบขนนก
บ้าง กลุ่มอับสปอร์เรียงเป็นแนวยาวไปตามเส้นใบทั้งสอง
ข้างของก้านใบ เท่าที่พบมี
:- Asplenium confusum Tard. & Ching
กระปรอกหางแมว, A.
crinicaule Hance, A. ensiforme Wall. ex
Hook. & Grev. ดาบวรประทีป,
A. grevillei Wall. ex Hook. & Grev., A. nidus
L. ข้าหลวงหลังลาย, A.
nitidum Sw. แววภัชรินทร์,
A. phyllitidis D. Don
หลังลายใบหอก, A. salignum Blume, A.
tenerum G. Forst. กูดสอนแพง |
|
|
|
|
|
|
|
Athyriaceae วงศ์กูดกิน
เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู เหง้าสั้น หรือทอเลื้อยสั้น ๆ
พบตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ริมแหล่งน้ำ
ในป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ ใบประกอบแบบ ขนนก
1-3 ชั้น อาจมีใบเดี่ยวบ้าง
กลุ่มสปอร์เรียงเป็น
แนวคู่ขนานสองข้างของเส้นแขนงใบย่อย เท่าที่พบมี
: -Diplazium bantamense Blume, D.
silvaticum (Borg) Sw. |
|
|
|
Blechnaceae
วงศ์กูดเกี๊ยะ
เป็นพืชที่มีเหง้าหรือ
ลำต้นโตค่อนข้างสูงดูคล้ายพวกปรง
หรือปาล์มบางชนิด
พบตามพื้นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
ตามป่าดิบแล้ง
ใบประกอบแบบขนนก
กลุ่มสปอร์
เรียงติดเป็นเส้น
Cyatheaceae วงศ์เฟินต้น
เป็นพืชที่มีลำต้น อาจสูงได้ถึง
1 เมตร ดูคล้ายปรงหรือปาล์มบางชนิด
พบตามที่ลาดชันแต่ใกล้แหล่งน้ำในป่าดิบชื้น
กลุ่มสปอร์รวมเป็นกระจุกกลมเรียงเป็นแถวสองข้าง
ของเส้นใบย่อย กระจุกสปอร์ไม่มีเยื้อหุ้ม มี :-
Cyathea podophylla (Hook.) Copel.
มหาสดำ
Dicksoniaceae วงศ์ว่านลูกไก่
เป็นพืชที่มีเหง้า มีลำต้นสูงขึ้นมาไม่มากนัก
ช่อใบเรียงเวียน ยาวได้ถึง
1.5 เมตร
ตามลำต้นมีขนยาวสีทองหนาแน่นพบตามชายป่า ดิบชื้น
ใบแบบขนนก 2 ชั้น สปอร์เดี่ยว
เรียงเป็น แนวชิดขอบหรือพูใบย่อย มี :-
Cibotium barometz (L.) J. Smith
ว่านไก่น้อย, ระอองไฟฟ้า
ขนสีทองใช้ใส่ แผลสด
Davalliaceae วงศ์กูดนาคราช
เป็นพืชที่มี ลำต้นทอดไปตามดินหรือหิน
ลำต้นแข็งคล้ายลวด มักมีขนและเกล็ดหนาแน่น
พบตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบ เชิงผา
สปอร์เดี่ยวรูปรีหรือกลม อยู่ตามบริเวณขอบของ ใบย่อย
แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบแยก
1-3 ชั้น มี :- Davallia
denticulata (Burm. f. ) Mett. ex Kuhn
นาคราช, D. solida (G.
Forst.) Sw. พญานาคราช, D.
trichomanoides Blume นาคราช;
Pachypleuriarepens (L. f.) M. Kato
กูดฮ่อมใบย่อย |
|
|
|
|
|
Pachypleuria repens |
Cephalomanes javanicum |
Lindsaea heterophylla |
Lindsaea lucida |
|
|
Dipteridaceae วงศ์บัวแฉก
เป็นพืชที่มีเหง้า
และไหลใต้ผิวดินชูก้านใบขึ้นมาสูงได้ถึง
1 เมตร
ปลายก้านเป็นแผ่นใบแผ่เป็นวงกว้างคล้ายใบบัว
แต่ปลายขอบแยกเป็นแฉก เป็นริ้ว ห้อยลง พบตามแหล่ง
ที่ค่อนข้างจำกัดตามชายป่าดิบรวมกันเป็นกลุ่มๆ
สปอร์รูปทรงกลมสีเหลืองอ่อน กระจายไม่เป็นระเบียบ
ทางผิวใบด้านล่าง อาจจัดอยู่ในกลุ่มพืชหายาก มี
:- Dipteris conjugata Reinw.
บัวแฉก
Lindsaeaceae วงศ์กูดหางนกยูง
พืชมีเหง้าเป็น ไหลยาวแล้วแทงลำต้นตั้งขึ้นมาจากผิวดิน
หรือเป็นเถาบ้าง พบตามป่าดิบชื้น ดิบแล้งทั่ว ๆ ไป
ลำต้นและกิ่งมักออกสีน้ำตาลคล้ำ ใบแบบขนนก
2-3 ชั้น หรือบางทีเป็นใบเดี่ยว
สปอร์มักติดเป็นเส้นหรือเป็นสัน ตามขอบหรือเป็นท่อนๆ
หรือเดี่ยว เรียงตามขอบหรือ มุมหยัก ของขอบใบ มี
:- Lindsaea chienii Ching
กูดหางนกยูง, L. cultrata (Willd.) Sw.,
L. doryphora K.U. Kramer
กูดหางนก, L. ensifolia Sw., L.
heterophylla Prent.
เฟินพริ้งพิมพ์, L. malayensis
กูดรุ่งแสง, L. orbiculata
(Lam.) Mett.; Sphenomeris chinensis (L.)
Maxon var. chinensis; Tapeinidium pinnatum
(Cav.) C. Chr. |
|
|
|