ภายใต้ภูมิศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันบนพื้นที่โดยรวมของประเทศคือ
513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 320.6 ล้านไร่
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 ภาค ตามสภาพภูมิศาสตร์ดังนี้คือ
ภาคเหนือ
:
มีเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดเรียงตัวกันแนวเหนือใต้
สภาพโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาที่มีความสูงเฉลี่ยมากกว่า 1,000
เมตร มีภูเขาแดนลาวกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า
เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง
ทางด้านตะวันตกมีเทือกเขาถนนธงชัย
และเทือกเขาตะนาวศรีตอนบนตั้งตระหง่านเด่นเป็นสง่า
ตอนกลางของเทือกเขาเป็นเทือกเขาผีปันน้ำ มีแนวสันเขาวกวน
แบ่งทางน้ำไหลสู่แม่น้ำโขง
แม่น้ำเจ้าพระยาผ่านแม่น้ำวังและแม่น้ำยม
ด้านตะวันออกมีเทือกเขาหลวงพระบางและเทือกเขาเพชรบูรณ์
เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน
ขุนเขาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ
ผลิตน้ำหล่อเลี้ยงให้แก่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน
มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
ภาคเหนือมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มาก ทั้งป่าดงดิบเขา ป่าสน
ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
ภาคกลาง
:
บริเวณภาคกลาง
ถือเป็นหัวใจของภาคเกษตรกรรมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชผลนานาชนิดรวมถึงการปลูกข้าวด้วย
เพราะมีที่ราบลุ่มกว้างใหญ่สลับกับป่าดงดิบและหนองบึง
มีทิวเขาเตี้ยๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำสายสำคัญ เช่น
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำสะแกรัง
แม่น้ำแม่กลอง ฯลฯ บริเวณที่สำคัญที่สุดของภาคกลางคือ
ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยา
เริ่มตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาถึงอ่าวไทย
นับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาตั้งแต่โบราณ |