สร้อยอินทนิล
รางจืด
 

ชื่อวิทยาศาสตร์:Thunbergia grandiflora  (Roxb.ex Rottler) Roxb.
วงศ์ :  Acanthaceae
ชื่อสามัญ :  Bengal clock vine, Blue Trumpet, Heavenly Blue
ชื่ออื่น : คาย (ปัตตานี) ช่องหูปากกา (ภาคใต้) น้ำผึ้ง (ชลบุรี) ปากกา (ยะลา) ย่ำแย้ (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อยไม้เถาขนาดใหญ่ ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปหัวใจหรือรูปไข่แกมรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้าเป็น 5-7 แฉก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ มีเส้นใบ 3-5 เส้นออกจากโคนใบ ผิวใบสาก ดอก รูปแตรสั้น สีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อตามซอกใบ ห้อยเป็นสายยาวได้ถึง 1 เมตร มีใบประดับขนาดใหญ่ 2 ใบ รูปขอบขนานปลายแหลม โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อนเชื่อมเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 ออกดอกตลอดปี  ผล รูปกลม ปลายสอบแหลมเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ พม่า และไทย ชอบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
ขยายพันธุ์
ด้วยการปักชำเถา หรือหน่อ
 


 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Thumbergia laurifolia   Lindl.
วงศ์ :  Acanthaceae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น :  กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น  (ยะลา)  จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง  ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า  มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน   ผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ออกดอก เดือนพฤศจิกายน - มกราคม
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด
ขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง



 

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด  ระหว่างสร้อยอินทนิลและรางจืด คือ ใบของสร้อยอินทนิลเป็นใบเดี่ยว ที่ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉก ในขณะที่ใบของรางจืดเป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนานหรือรูปไข่

HOME