ป่าชายหาด  (beach forest)  คือป่าที่ขึ้นคลุมดินหรือเนินทรายชายฝั่งทะเลที่ยกตัวจนน้ำท่วมไม่ถึง  แต่ได้รับผลกระทบจากทะเล  เช่น ไอความเค็ม  และลมจากทะเล  ในประเทศไทยพบป่าชายหาดกระจายอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน  เช่น ที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์  สงขลา พังงา  ภูเก็ต  และตามเกาะต่างๆ

          โครงสร้างของป่าชายหาด (beach forest)  แปรผันไปตามลักษณะของดินและหิน  ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่เป็นทรายมาก จะพบพรรณไม้จำพวก ไม้สนทะเล (Casuarina equisetifolia  ) เป็นไม้เด่น เช่น ที่จังหวัดสงขลา พังงา และภูเก็ต  จะพบเป็นป่าสนทะเล ล้วนๆ บางแห่งอาจพบ หูกวาง (Terminalia  catappa ) ขึ้นอยู่เป็นแนวบริเวณชายหาด
           ส่วนไม้พื้นล่างมีน้อยชนิด  ที่สำคัญได้แก่ คนทีสอทะเล (
Vitex trifolia )  ผักบุ้งทะเล  (Ipomoea  pescaprae )  หนาด  ( Launaea sarmentosa )
หญ้าลอยลม (Spinifex littorius )  และรักทะเล (Scaevola taccada ) สำหรับบริเวณที่พื้นเป็นหินผสมดินจะเป็นถิ่นของไม้ตะบูนดำ (Xylocarpus granatum ) โพธิ์กริ่ง (Hernandia nymphaefolia )  บางแห่งอาจพบลำเจียก หรือเตยทะเล (Pandanus odoratissimus )  ผสมอยู่ด้วย














xป่าชายหาดท่าฉัตรไชย
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ

 

 

หรือในพื้นที่ห่างทะเลและดินมีทรายน้อยลง ป่าจะหนาทึบขึ้น แต่จะมีไม้ประเภทไม้พุ่มและไม้หนามค่อนข้างมาก ไม้ที่สำคัญๆ ได้แก่ ท้องบึ้ง ( Dialium platysepalum ) มะเกลือ ( Diospyros mollis ) เกด ( Manilkara hexandra ) ข่อย ( Streblus asper ) และมะนาวผี (Atalantia monophylla) และหากพื้นที่ในที่ลุ่มน้ำทะเล ท่วมเป็นครั้งคราวและดินเค็มจัด อาจพบพรรณไม้ที่มีขนาดเล็ก เช่น แห้วทรงกระเทียม (Eleocharis dulcis ) จูดหนู (E.ochrostachys ) และชะคราม (Sueda maritima  )  ขึ้นอยู่โดยทั่วไป  

 
      





  ปอทะเลชายหาด
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

 

           เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื่องจากป่าชาดหาดมักขึ้นปกคลุมชายฝั่งทะเล ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายและมีทิวทัศน์ที่ดูงดงามตามธรรมชาติจึงมักถูกทำลายหรือยึดครอง เพื่อเปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในปัจจุบันจึงพบป่าชายหาดที่สมบูรณ์ได้เฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์ คือ อุทยานแห่งชาติทางทะเล และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางแห่งเท่านั้น

   
 
 

                 ป่าชายหาดเกาะแสมสาร

ป่าสนทะเล อุทยานแห่งชาติเขาแหลม