ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยา
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึงหน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ แหล่งใดแหล่งหนึ่ง
ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
ที่แวดล้อมอยู่ และในขณะเดียวกันก็จะมีความสัมพันธ์อีกลักษณะหนึ่งคือ ความเกี่ยวโยง
พึ่งพากัน หรือการส่งผลต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และมีอยู่ในระบบนิเวศทุกระบบ แสดงว่าชีวิตทั้งหลายไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว โดยปราศจากการ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันที่กล่าวนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้บรรดาชีวิตทั้งหลาย
อยู่รอดได้ ชีวิตหนึ่งจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีชีวิตอื่นๆ และองค์ประกอบอื่นๆ อยู่ด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบนิเวศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ นิเวศวิทยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยา แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด
ที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองชนิด ใช้สัญลักษณ์ +, + เช่น
- แมลงกับดอกไม้ แมลงดูดน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร และดอกไม้มีแมลง
ช่วยผสมเกสร
- นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าๆ จากหลังควาย และควายก็ได้นกเอี้ยง
ช่วยกำจัดแมลงที่มาก่อความรำคาญ
- มดดำกับเพลี้ย เพลี้ยได้รับประโยชน์ในการที่มดดำพาไปดูดน้ำเลี้ยงที่ต้นไม้
และมดดำก็จะได้รับน้ำหวาน
- ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (Sea Nnemone) ปูเสฉวนอาศัยดอกไม้ทะเลพรางตัวจาก
ศัตรู และยังอาศัยเข็มพิษจากดอกไม้ทะเลป้องกันศัตรู ส่วนดอกไม้ทะเลก็ได้รับ
อาหารจากปูเสฉวนที่กำลังกินอาหารด้วย
- ไลเคน (Lichen) คือการดำรงชีวิตร่วมกันของรากับสาหร่าย ซึ่งเป็นการอยู่แบบที่
สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิด ต่างก็ได้รับประโยชน์ สาหร่ายมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้โดย
กระบวนการสังเคราห์ด้วยแสงแต่ต้องอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ส่วนราได้รับธาตุ
อาหารจากสาหร่าย ได้แก่ ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจน นอกจากนั้นราบางชนิดอาจสร้างสารพิษ ซึ่งป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นกินไลเคนเป็นอาหาร และรายังสร้างกรดช่วยในการละลายหินและเปลือกไม้ ทำให้ไลเคนดูดซับธาตุอาหารได้ดี
- แบคทีเรียไรโเบียม (Rhizobium) ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว ตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
ให้แก่รากถั่ว ในขณะเดียวกับแบคทีเรียก็ได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่ธาตุ
จากต้นถั่ว โปรโตซัวในลำไส้ปลวก ปลวกไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยเซลลูโลสในเนื้อไม้
โปรโตซัวช่วยในการย่อ จนทำให้ปลวกสามารถกินไม้ได้ และโปรโตรซัวก็ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายเซลลูโลสด้วย แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคน
แบคทีเรียได้รับอาหารและมราอยู่อาศัยจากลำไส้ของคน ส่วนคนจะได้รับวิตามินบี 12
จากแบคทีเรีย
2. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalisms) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ (+,0) เช่น
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามอาศัยอยู่ใกล้ตัวปลาฉลาม และกินเศษอาหารจากปลาฉลาม ซึ่งปลาฉลามจะไม่ได้ประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร
- พลูด่างกับต้นไม้ใหญ่ พลูด่างอาศัยร่มเงาและความชื้นจากต้นไม้โดยต้นไม้
ไ้ด้ประโยชน์ ขณะเดียวก็ไม่เสียประโยชน์อะไร
- กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ยึดเกาะที่ลำต้นหรือกิ่งของต้นไม้ซึ่งได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากต้นไม้ โดยที่ต้นไม่ไม่ได้รับประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์อะไร
- เพรียง
ที่อาศัยเกาะบนผิวหนังของวาฬเพื่อหาอาหาร วาฬไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์
3. ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ใช้สัญลักษณ์ + , -
ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- การล่่าเหยื่อ (Predation) เป็นความสัมพันธ์โดยมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (predator) และ
อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหยื่อ (prey) หรือเป็นอาหารของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น งูกับกบ
- ภาวะปรสิต (Parasitesm) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เบียดเบียน
เรียกว่าปรสิต (parasite) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน (host)
- ต้นกาฝาก เช่น ฝอยทองที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ จะดูดน้ำและอาหารจากต้นไม้ใหญ่
- หมัด เห็บ ไร พยาธิต่างๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์
- เชื้อโรคต่างๆ
ที่ทำให้เกิดโรคกับคนและสัตว์
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์แบบภาวะมีการย่อยสลาย (Saprophytism) ใช้สัญลักษณ์ +,0
เป็นการดำรงชีพของกลุ่มผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์
ในระบบนิเวศ ทั้งสสารและแร่ธาตุต่างๆ จะถูกหมุนเวียนกันไปภายใต้เวลาที่เหมาะสม และมี
ความสมดุลซึ่งกันและกัน วนเวียนกันเป็นวัฏจักรที่เรียกว่า วัฏจักรของสสาร (Matter Cycling)
ซึ่งเปรียบเสมือนกลไกสำคัญ ที่เชื่อมโยงระหว่างสสารและพลังงานจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีิวิต
แล้วถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของการกินต่อกันเป็นทอดๆ ผลสุดท้ายวัฏจักรจะสลายในขั้นตอนท้ายสุด โดยผู้ย่อยสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติ วัฏจักรของสสารที่มีความสำคัญต่อสมดุลของระบบนิเวศ ได้แก่ วัฏจักรของน้ำ วัฎจักรของไนโตรเจน วัฏจักรของคาร์บอน และ วัฏจักรของฟอสฟอรัส