Aedes aegypti


Aedes albopictus

















 

ยุงพาหะนำโรคชิคุนกุนยา (chikungunya)

โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลาย Aedes aegypti และ Aedes albopictus เป็นพาหะนำโรค อาการมีไข้สูง มีผื่นแดงและปวดข้อมากจนตัวโค้งงอ จากบทความโดย นพ.ยง ภู่สุวรรณ และคณะ (2552) ในหัวข้อเรื่อง โรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา ได้รายงานว่า
โรคนี้เคยระบาดในประเทศไทยมาก่อนในช่วงปี พ.ศ.2500-2510 มีภาวะระบาดอย่างมากในเด็ก มีผู้ป่วยจำนวนมากนับหมื่นราย และได้สงบหายไปนานกว่า 30 ปี แต่เดิมผู้ป่วยในประเทศไทยเกิดจากเชื้อชิคุรกุนยาสายพันธุ์เอเชีย มียุงลายบ้านเป็นพาหะ แต่แล้วในปี พ.ศ.2547 เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์แอฟริกา ในประเทศทางแอฟริกาตะวันออก เชื้อสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยยุงลายสวน จึงทำให้มีการระบาดขึ้นใหม่อย่างกว้างขวาง ในแอฟริกาตะวันออก หนึ่งปีต่อมาการระบายได้แพร่เข้าสู่ประเทศอินเดีย พอถึงปี พ.ศ. 2550  เกิดการระบาดขึ้นในประเทศศรีลังกา อินโดนิเซีย และแหลมมลายู ในที่สุดเข้าประเทศไทยทางเขตแดนที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ปลายเดือนกันายน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ประกอบกับทางภาคใต้มียุงลายสวนอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งแพร่ะกระจายขยายวงกว้างมากขึ้น สร้างปัญหาให้กับประชาชนในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ดังกล่าวข้างต้น

การติดต่อของโรค

เมื่อยุงลายตัวเมียดูดเลือดผู้ป่วยที่กำลังมีไข้สูง ซึ่งเป็นช่วงที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะอาหารของยุง ไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วกระจายไปอยู่ที่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้ผู้นั้นเกิดอาการของโรคขึ้นได้ ระยะฟักตัวของโรค กินเวลาประมาณ 2-3 วัน

าการของผู้ป่วย

ู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย อาจมีอาการคันร่วมด้วย อาจพบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว เด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่ากับผู้ใหญ่ อาการที่เด่นชัดคือ อาการปวดข้อ มักเป็นที่ข้อเล็กๆ ก่อน เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อนี้จะพบได้ในหลายๆข้อ และอาจเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย บางครั้งอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถขยับข้อได้ อาการเหล่านี้อาจหายได้เอง ในเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้ใหม่อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ยังไม่พบผู้ป่วยรายใดมีอาการรุนแรงถึงกับเสียชีวิต

การรักษาผู้ป่วย

ผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา อาจหายเองได้ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ซึ่งควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การป้องกันและการควบคุม

ยุงลายสวนจะเพาะพันธุ์ในภาชนะน้ำขังภายนอกบ้าน เช่น ในโพรงไม้ หรือในกระบอกไม้ไผ่ที่ถูกตัดไปเหลือส่วนของโคนต้นซึ่งสามารถขังน้ำได้ และในภาชนะขังน้ำอื่นๆ ด้วยเช่นกัน จึงต้องทำการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เหล่านี้ให้หมด นอกจากนี้ยังพบว่า ยุงลายสวนตัวเต็มวัย มักจะอาศัยเกาะพักบนต้นหญ้า หรือตามสุมทุมพุ่มไม้ที่อยู่รอบบ้าน รอเวลาให้คนเข้ามาใกล้ หรือไม่ก็จะบินเข้าหาคนเพื่อดูดเลือด ดังนั้นเราจึงต้องทำการตัดหญ้า และสุมทุมพุ่มไม้ที่อยู่รอบบ้านออกให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่พักอาศัยของยุงลายสวนอีกต่อไป อีกประการหนึ่ง เมื่อต้องเข้าไปในเขตของยุงลายสวน ควรสวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกายให้มิดชิด ไม่เปิดโอกาสให้ยุงกัดได้ เวลาจะนอนให้นอนในมุ้งหรือภายในห้องที่ติดมุ้งลวด อาจใช้สารไล่ยุงทาผิวหนังในส่วนที่อยู่นอกเสื้อผ้า ควรติดต่อทางราชการให้เข้ามาทำการพ่นสารฆ่าแมลง เพื่อกำจัดยุงภายในและบริเวณรอบหมู่บ้านในช่วงฤดูฝน เพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคชิคุนกุนยาลงได้

 
 
         
      ที่มา : ยุงพาหะนำโรคกับโรคชิคุนกุนยา โดย ดร.สัมฤทธิ์ สิงห์อาษา และ ดร.พัชนี สิงห์อาษา จากหนังสือจากยอดเขาถึงใต้ทะเล 3  
         
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.