ธรรมชาติมีความสำคัญต่อชีวิต นอกจากปัจจัยสี่แล้วสิ่งที่สำคัญคือ
เมื่อได้เข้าไปคลุกคลีกับธรรมชาติจะทำให้เราเกิดปัญญา เข้าใจชีวิตตนเอง เข้าใจชีวิตผู้อื่น
ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร
พืช เป็นทรัพยากรที่มีให้ใช้ได้ชั่วกาลนาน ถ้ารู้จักใช้ ขณะนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วง
คือเราไม่มีความรู้และไม่รู้คุณค่าจึงไม่อนุรักษ์ และผลาญทรัพยากรไปอย่างน่าเสียดาย
ดร.จำลอง เพ็งคล้าย
เท่าที่ศึกษาเรื่องสาหร่ายมา 40 ปี ก็ยังรู้สึกว่าไม่รู้อะไรอีกมาก ได้รวบรวมทำบัญชีรายชื่อเอาไว้ได้ประมาณกว่า 300 ชนิด
ก็มีชนิดที่พบในเมืองไทยครั้งแรกเป็น New Record มีหลายชนิด
ตอนที่มาทำกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชก็พบหลายชนิดมาก
ศ.กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์
แพลงก์ตอน เป็นเรื่องลึกซึ้งแต่ใกล้ตัว เพราะเป็นข้อแรกของห่วงโซ่อาหารและเป็นดัชนีช่วยชี้วัดเรื่องโลกร้อน
ตอนแรกสนใจเพราะเห็นว่าสวยดี พอศึกษาไปเรื่อยๆก็รัก และมีความสุข
ศ.ลัดดา วงศ์รัตน์
การศึกษาสำรวจเรื่องสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและงานด้านธรรมชาติวิทยาในโครงการ อพ.สธ.
จะนำไปสู่การฟื้นฟูธรรมชาติทั้งระบบ ที่นี่เป็นแหล่งรวมนักวิชาการที่ มีใจ ทุกคนทำงานด้วยใจมีความสุข
ไม่เคยท้อถอย แม้จะยากลำบากก็ตาม
รศ.ผุสตี ปริยานนท์
การดูนกทำให้เราเพลิดเพลินมีความสุข เกิดแรงบันดาลใจ จากเริ่มแรกเราอาจเป็นผู้ไม่รู้ถ้าเราได้เรียนรู้และทำต่อไปเรื่อยๆ
ในที่สุดเราจะเป็นผู้รู้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือขอให้ทำสม่ำเสมอ
รศ.วีณา เมฆวิชัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสว่า ธรรมชาติเป็นห้องแล็บที่สำคัญของเราเรียนรู้ทุกอย่างได้จากธรรมชาติ
อยากให้เด็กๆเห็นธรรมชาติ ได้เรียนรู้จริงๆ แล้วเขาจะรักมันอย่างแหนหวงและจะหาทางนำประโยชน์มาใช้อย่างยั่งยืน
ผศ.วิโรจน์ ดาวฤกษ์
ประเทศไทยของเราโชคดีที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล
จุลินทรีย์ที่พบบนเกาะแสมสารบางชนิดเราได้นำมาใช้ในการย่อยเซลลูโลสในพืช นำไปทำเอทานอลซึ่งเป็นพลังงานทดแทน
รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
"ป่าใดมีสัตว์ป่าจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของป่าเพราะป่าเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต
ป่าใดมีความหลากหลายของสัตว์ป่ามากทั้งชนิดและสายพันธุ์ป่านั้นยิ่งสมบูรณ์ ป่านั้นคือ มณีมีค่าอนันต์
ปิติ ราชวงศ์
การเข้าร่วมโครงการ อพ.สธ. ทำให้พบหอยชนิดใหม่ของโลก ข้อมูลที่พบนั้นก็น่าตื่นเต้น
เช่น ในเรื่องของพันธุกรรมที่ถูกแยกออกไป หรือพันธุกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลที่ได้ทำให้สามารถเชื่อมโยงถึงเรื่องวิวัฒนาการ
รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา
ขณะที่มหาวิทยาลัยบูรพาได้สานต่องานวิจัยพื้นฐานด้านทรัพยากรทางทะเลที่ทำร่วมกับโครงการ อพ.สธ.
โดยนำฐานข้อมูลที่ได้มาใช้ในการเขียนรายงานทางวิชาการในการฝึกอบรมทำคู่มือสำหรับเยาวชนจนถึงการทำ reference collection
คณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
งานสำรวจเรื่องกัลปังหาและปะการังในโครงการ อพ.สธ. นำมาใช้ประโยชน์ในการแพร่พันธุ์ปะการังเพื่อการอนุรักษ์
การสำรวจทำให้ได้ความรู้พื้นฐาน ซึ่งสำคัญต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญกว่านั้นคือ
ทำให้เราเห็นคุณค่าและเกิดจิตสำนึกในการรักษาธรรมชาติใต้ท้องทะเล
ดร.วรณพ วิยกาญจน์ และ ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์
อ่าวสัตหีบ เป็นเขตอนุรักษ์ของทหารเรือ ปะการังและปลายังอุดมสมบูรณ์
ที่ประทับใจมาก คือ ชาวประมงที่อยู่บริเวณนี้ทำประมงพื้นบ้านอ่าวสัตหีบ
จึงเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการทำประมงพื้นบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
รศ.วิมล เหมะจันทร
สัตว์หน้าดินและสัตว์ในดิน คือ ดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ในดินเป็นอีกโลกหนึ่งที่น่ามหัศจรรย์ เป็น unseen อย่างหนึ่ง
ยิ่งดู ก็ยิ่งอยากรู้เราควรช่วยกันดูแลดินเพราะทุกชีวิตมาจากดินและสุดท้ายก็ต้องกลับไปสู่ดิน
รศ.ดร.สัมฤทธิ์ สิงห์อาษา
ตอนแรกสนใจเรื่องมลภาวะและไลเคนก็เป็นดัชนีชี้มลภาวะได้อย่างดี เมื่อส่องดูไลเคนจะรู้สึกว่าเข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่ง แต่ละชนิดแตกต่างกัน
เราจึงต้องศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนเพื่อให้รู้ว่าเมืองไทยมีทรัพยากรนี้มากหรือน้อยจะได้นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้
ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ
น้ำใสๆภายใต้กล้องมีอะไรให้ดูมากมาย นี่คือการจุดประกายความสนใจ เมื่อศึกษาแล้วทำให้รู้ว่าแพลงก์ตอนมีบทบาทต่อระบบนิเวศทั้งระบบ
เวลาเรียนรู้ธรรมชาติควรเชื่อมโยงให้เข้าใจทั้งระบบรู้ว่าถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะส่งผลกระทบไปหมด
ผศ.สุนันท์ ภัทรจินดา
|