PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


   

                       หน้า   1    2    3

 
 

การพัฒนาชาวเขา (ต่อ)

 
 

          งานวิจัยที่ใช้เวลาต่อเนื่องมากว่า 10 ปีนี้ จึงนับเป็นการสั่งสมประสบการณ์และขยายวงแห่งความรู้สำหรับแวดวงวิชาการด้านนี้ของประเทศไปด้วย มีการดำเนินการวิจัยพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมแล้วกว่า 50 ชนิด เช่น ไม้ผล ไม้ดอก ธัญพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ กาแฟ นัท สมุนไพร เครื่องเทศ เห็ด ยาสูบ พืชน้ำมัน ถั่ว ไพรีธัม พืชยาฆ่าแมลง ฯลฯ ความรู้บางอย่างสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น การพบว่า ไม้ป่าที่ขึ้นเองทางภาคเหนือหลายชนิดเองทางภาคเหนือหลายชนิด เช่น มะขี้หนู

 
       
 

มะกล้วยฤๅษี ก่อ  และไม้พื้นเมืองอื่นๆ เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับพันธุ์ไม้ต่างประเทศจำพวก แอปเปิ้ล พลับ เกาลัด และอื่นๆ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ไม้เหล่านี้โดยผสมกับพันธุ์ของต่างประเทศ โดยการต่อกิ่ง ขยายพันธุ์ ทำให้เกิดพันธุ์ไม้ที่เจริญงอกงามแข็งแรง ผลผลิตดีและมีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ พืชพันธุ์ไม้เมืองหนาวเหล่านี้ได้ขยายพันธุ์จากแปลงทดลองสาธิต ไปสู่ไร่ของชาวเขาอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นเศรษฐกิจที่ทำรายได้ไม่แพ้ฝิ่นเลย

 
 

          ปัจจุบัน ผลผลิตทางการเกษตรจากพื้นที่สูงแพร่หลายไปทั่ว มีการพัฒนาวิธีการบรรจุหีบห่อและเก็บรักษา เพื่อการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อทำให้เป็นระบบการเกษตรที่ครบวงจรจริงๆ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อรับซื้อผลผลิตจากชาวเขา เพื่อลดปัญหาการสูญเสียจากกระบวนการขนส่ง การจัดจำหน่าย และปัญหาเรื่องราคา โดยโรงงานนี้ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517
          การพัฒนาชาวเขามิได้จำกัดอยู่เฉพาะงานด้านเศรษฐกิจการเกษตรเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ การปรับพื้นที่เพาะปลูกตามเหล่เขา การสร้างถนน รวมไปถึงการพัฒนาทางสังคม การศึกษา และสาธารณสุขด้วย
          สรุป
:  ปัจจุบัน ชาวเขาได้เริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตอันเก่าแก่ของพวกตนแล้ว มีพืชพันธุ์ใหม่ๆ วิธีการปลูกใหม่ๆ  เกิดขึ้น มีบ้านเรือนถาวร ตั้งอยู่เป็นหลักแหล่ง สื่อสารสมาคมกับคนพื้นราบอย่างกว้างขวาง มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นทีละน้อย ศิลปะการปักผ้า จักสาน ดนตรี ของชาวเขาก็เริ่มเป็นที่คุ้นเคยของคนพื้นราบ และชาวเขาก็ค่อยๆ กลายสภาพเป็นชุมชนคนไทย เกิดความสำนึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม และเริ่มมีส่วนร่วมต่อการใช้สิทธิทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
          พระราชดำริที่จะได้อัญเชิญมาดังต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนถึงสิ่งที่พระองค์มุ่งหวังและได้ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง กว่าที่ผลสำเร็จจะค่อยๆ ปรากฎ

 
         
   
         
   
 

 

     
 

          "...เรื่องที่ช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการเช่นนี้จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือมนุษยธรรม อยากที่จะให้ผู้ที่อยู่ในที่ทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าเราสามารถที่จะช่วยชาวเขาให้ปลูกพืชที่เป็นประโยชน์มาก เขาจะเลิกปลูกฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบการสูบฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้ เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลุกที่อาจทำให้บ้านเมืองเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและเพาะปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั้งประเทศ เพราะว่าถ้าเราสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถที่จะมีการอยู่ดีกินดีพอควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดิน ให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก..."