พืชมีพิษ


   

 

 





กลับหน้าหลัก
HOME

 
           ย้อนกลับ
 

 

  

 

 



















 

มะพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์
: Cocos nucifera  L.
วงศ์
:  Palmae
ชื่อสามัญ
:  Coconut
ชื่ออื่น
:
 ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น หมากอูน (ทั่วไป)

 

 

 

 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว

ประโยชน์ : เราใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่น ผลอ่อนใช้รับประทานสด (ทั้งน้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้าวจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม และสบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะ ตักตวงของเหลว (กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์ (มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง) ใบมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา เครื่องจักสาน ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำรั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น (ช่อดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักทำเหล้าและน้ำส้ม รากใช้ทำยา สีย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้าวไปประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม

 

ที่มาของข้อมูล :  ศ. เต็ม สมิตินันท์ หนังสือพันธุ์ไม้ป่าเมืองไทย , กรมป่าไม้

 


www.rspg.thaigov.net