พืชมีพิษ


 







กลับหน้าหลัก
HOME

 


 
ต่อระบบประสาทและทำให้เสพติด


  ย้อนกลับ

 

 
 

 









 

 
 

กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Dioscorea hispida  Dennst. var. hispida
ชื่อพ้อง : D. hirsuta  Blume
วงศ์ :
 Dioscoreaceae
ชื่อสามัญ :
Intoxicating yam, Nami, Wild yam
ชื่ออื่น :
 กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก กอย (ภาคเหนือ) คลี้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
 ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะลำต้นมีหนามเล็กๆ กระจายทั่วไปและมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะทรงกลมรี มีรากเล็กๆ กระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิด คือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่,กลอยเหลือง) ใบ เป็นใบประกอบก้านใบยาว 10-15 ซม. มี ใบย่อย 3 ใบ รูปรีปลายใบแหลมขอบใบเรียบเส้นใบนูน ผิวใบสากมือ มีขนนุ่มๆ ปกคลุม ความกว้างของใบ 3-5 ซม. ยาว 8-10 ซม. ดอก เป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบ ก้านดอกเดี่ยวยาวห้อยย้อยลงมา มีดอกเล็กๆ ติดบนก้านดอกจำนวน 30-50 ดอก ผล คล้ายผลมะเฟืองมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เม็ด เมื่อแก่แตกได้เอง เมล็ด ลักษณะกลมแบน มีปีกบางใสรอบเมล็ดช่วยในการปลิวตามลม

ส่วนที่เป็นพิษ :  หัว
สารพิษ : พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก แล้ว จะมีแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษ 0.19 % 
การเกิดพิษ
:  หัว เมื่อกินเข้าไปโดยยังมิได้กำจัดพิษออกก่อน จะเกิดอาการใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า ชีพจรเบาเร็ว อึดอัด เป็นลม อาจประสาทหลอน กล้ามเนื้อชักกระตุก หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้
การรักษา
:
  ให้การรักษาตามอาการ ได้แก่
1. ให้ phenobarbital หรือ diazepam เพื่อป้องกันอาการชัก แต่ต้องระวังไม่ให้ในรายที่ขนาดของกลอยที่ได้รับนั้นทำให้เกิดอาการพิษที่ไปลดการเคลื่อนไหว (motor activity) หรือกดระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยาเหล่านี้อาจไปเสริมฤทธิ์แทนที่จะต้านฤทธิ์ของกลอย
2. หยุดหายใจ อาจแก้โดยใช้ neostigmine
             ดังนั้น การนำหัวกลอยมาใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ต้องใช้ความชำนาญและเวลามาก โดยมีการหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปล้างในน้ำไหล หรือต้มในน้ำเกลือโดยเปลี่ยนน้ำล้างหลายหน รวมทั้งการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำไปใช้ประโยชน์ให้แน่ใจว่าไม่มีสารพิษเหลืออยู่

ที่มาของข้อมูลพิษ : http://www.medplant.mahidol.ac.th/poison/kloy.htm