ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels
วงศ์ :  Menispermaceae
ชื่อสามัญ : Bamboo grass
ชื่ออื่น :
จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ลีกษณะ : ย่านางเป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
ประโยชน์
: ตำรายาไทยใช้รากต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด การทดลองพบว่าสารสกัดรากมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง  ชาวอีสานใช้เถาใบอ่อน ใบแก่ ตำคั้นเอาน้ำสีเขียว และนำไปต้มกับหน่อไม้ปรุงเป็นแกงหน่อไม้ หรือซุบหน่อไม้ บางแห่งนำไปแกงกับขี้เหล็กเป็นการปรุงอาหารที่เชื่อว่าย่านางจะช่วยลดรสขื่นขมของหน่อไม้ได้ดี ทำให้หน่อไม้มีรสหวาน อร่อย นอกจากนี้น้ำคั้นจากย่านาง ยังนำไปใส่แกงขนุนแกงอีลอก อ่อมและหมกซึ่งเป็นอาหารอีสานอีกด้วย น้ำสีเขียวจากใบย่านางนำไปใช้ย้อมสีผ้าได้อีกด้วย