พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 















 
 

ชุมเห็ดไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
  Cassia tora  L.
วงศ์ : Leguminosae-Caecalpinodeae
ชื่อสามัญ
: -

ชื่ออื่น : กิเกีย, หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong) ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร
ประโยชน์ :   ส่วนยอดอ่อนและใบ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ สรรพคุณใบ รสเมา เป็นยาระบาย เมล็ด รสขมเมา รักษาโรคผิวหนัง คั่วชงน้ำกิน บำรุงประสาทแก้นอนไม่หลับ บดผสมน้ำมันพืชทาแก้หิด กลาก เกลื้อน ทั้งต้น รสเมา แก้ไข้ ขับพยาธิในท้อง แก้ไข้หวัด สารสำคัญในเมล็ดมี Anthrequinene ชนิด aloe-emodin, chrysophenol, chrysophanic acid – 9 – anthrone, emodin, obtusin, physcion, rhein และอนุพันธ์ของ anthraquinene glycoside อื่น ๆ อีก มี gum 7.6% (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net