พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 

















 
 

ครามดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Indigofera cassioides Rottl.ex DC.
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่อสามัญ
:
 -
ชื่ออื่น : เสียดเครือ (เลย) ; ครามดอย (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
:
 เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire) ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปนสีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม – เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel) สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)

ประโยชน์ :  
 เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net