แก้วเจ้าจอม
ชื่อพื้นเมือง :
แก้วเจ้าจอม (กรุงเทพมหานคร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum
officinale L.
ชื่อวงศ์ : ZYGOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ : Lignum Vitae
ลักษณะ : ไม้ต้น
สูง 10-15 ม.
เปลือกต้นสีเทาเข้ม
กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มๆ
ทั่วไป ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่
มีใบย่อย 2-3 คู่
เรียงตรงข้าม
ใบย่อยไม่มีก้าน
รูปไข่กลับ รูปไข่กว้าง
หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย
ปลายมน โคนสอบ ขอบเรียบ
มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน
ดอกเดี่ยว
ออกเป็นกระจุกที่ยอด 3-4
ดอก
สีฟ้าอมม่วงและจะซีดลงเมื่อใกล้โรย
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่
โคนติดกันเล็กน้อย
ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ
รูปรีหรือรูปไข่
เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกกัน
เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น
5 แฉก ผลแห้งแตก
รูปหัวใจกลับ มีครีบ 2
ข้าง สีเหลืองหรือสีส้ม
มี 1-2 เมล็ด เมล็ดรูปรี
สีน้ำตาล
ประโยชน์ :
นำมาปลูกในประเทศไทยเป็นไม้ประดับ
แก่นไม้สีน้ำตาลถึงดำ
แข็งมาก เป็นมัน
และหนักมาก
ทนต่อแรงอัดและน้ำเค็ม
จึงนิยมนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเรือเดินทะเล
หรือกรอบประกับเพลาเครื่องจักรในโรงงานต่างๆ
ทำรอก ด้ามสิ่ว
และอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ
ยางไม้ใช้เป็นยาขับเสมหะ
ยาระบาย ขับเหงื่อ
แก้ข้ออักเสบ
ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด
ทำเป็นยาอมแก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ
ละลายในเหล้ารัมและเติมน้ำเล็กน้อยใช้อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
กินแก้ปวดท้อง
และใช้ใส่แผล
น้ำคั้นจากใบกินแก้อาการท้องเฟ้อ
เปลือกและดอกเป็นยาระบาย
ยาชงจากดอกเป็นยาบำรุงกำลัง
โทษ : -