กอมก้อลอดขอน
Elatostema repens (Lour.) Hallier f., URTICACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นอวบน้ำทอดไปตามพื้นดิน หิน หรือขอนไม้ มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แต่ขนาดของใบไม่เท่ากัน ใบหนึ่งเล็กมาก ยาว 1-2 มม. ร่วงง่าย อีกใบเป็นใบปรกติ จะเห็นใบปรกติเรียงสลับกัน ใบค่อนข้างอวบน้ำ รูปใบหอก รูปรี หรือรูปรียาว กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3-11 ซม. ปลายแหลม โคนเฉียงและเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักซี่ฟัน เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น แผ่นใบด้านล่างมีขน ด้านบนมีผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตภายในเซลล์ของผิวใบ (cystolith) เมื่อแห้งเป็นเส้นนูนคล้ายขนกระจายอยู่ทั่วไป ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. หูใบเป็นแผ่นบางๆ รูปไข่ปลายเรียวแหลม สีน้ำตาลแดง ยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 5-10 ซม. มีขน ดอกเล็กมาก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย กลีบดอกมีชั้นเดียว จำนวน 4 กลีบ สีขาวอมเขียว เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด ผลแห้งเมล็ดล่อน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียและภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบในป่าดิบตามที่ร่มชื้นหรือใกล้น้ำลำธาร


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.