กกช้าง
Typha angustifolia L., TYPHACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ม. แผ่นใบด้านบนโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหนุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างแบน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกมีจำนวนมาก ติดกันแน่น สีน้ำตาล ลักษณะคล้ายธูปดอกใหญ่ ก้านช่อดอกกลม แข็ง ดอกแยกเพศ แบ่งเป็นตอนเห็นได้ชัด กลุ่มดอกเพศผู้อยู่ปลายก้าน รูปทรงกระบอก ยาว 15-30 ซม. และทิ้งช่วงห่างกลุ่มดอกเพศเมีย 0.5-12 ซม. ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 2-3 อัน และมีขนแบนรูปช้อน 3 เส้น กลุ่มดอกเพศเมียรูปทรงกระบอกเช่นกันแต่ใหญ่กว่ากลุ่มดอกเพศผู้ ยาว 7-28 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีใบประดับย่อย (bracteole) เป็นเส้นปลายสีน้ำตาลมากมายแซมดอก โคนก้านชูเกสรเพศเมีย (gynophore) มีขนยาวสีเงินหลายเส้น ดอกแก่จะแตกเห็นเป็นขนขาวฟู รังไข่มีช่องเดียว มีออวุล 1 เม็ด ผลเล็กมาก เมื่อแก่แตกตามยาว


ถิ่นกำเนิด : ทวีปยุโรป และอเมริกา


การกระจายพันธุ์ : ทั่วโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบในที่ลุ่มทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.