ปอกระเจาฝักยาว
Corchorus olitorius L., TILIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปอกระเจาฝักยาวมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายปอกระเจาฝักกลม แต่ปอกระเจาฝักยาวดอกใหญ่ ใบยาวกว่า และผลเป็นฝักกลมยาวเรียว ปลายแหลม กว้าง 3-8 มม. ยาว 6-10 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 3-6 ซีก ภายในผลมีผนังกั้น


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา จีน อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน ลาว เวียดนาม กัมพูชา มลายูภาคใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อเมริกา (ฮาวาย)


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : เชียงใหม่, ลพบุรี, กรุงเทพมหานคร, พังงา


สภาพนิเวศน์ : พื้นที่โล่งในที่ดอน ไม่มีน้ำขัง


เวลาออกดอก : ออกดอกและติดผลระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : ในประเทศไทยเริ่มปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2483 โดยกรมเกษตรและการประมง (ชื่อในขณะนั้น) ได้รณรงค์ส่งเสริมพื้นที่การปลูกที่สุโขทัยบางส่วน และตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาจนถึงพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มพูนรายได้และใช้เป็นวัตถุดิบในการทอกระสอบ โดยขั้นแรกได้ใช้พันธุ์พื้นเมือง คือ พันธุ์อยุธยา และพันธุ์พม่า เพื่อผลิตเส้นใยป้อนโรงงานทอกระสอบซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมาได้มีหน่วยงานราชการและเอกชนนำเมล็ดพันธุ์ปอกระเจาจากต่างประเทศเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ได้ดำเนินการทดลองและขยายพื้นที่การผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ต่อมาใน พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้กำหนดให้ปอกระเจาเป็นพืชเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีการปลูกปอกระเจาตามริมฝั่งน้ำของบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนหลายจังหวัด แต่พื้นที่ปลูกลดน้อยลง เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงในขณะที่ราคาและผลผลิตขึ้นลงไม่แน่นอนในแต่ละปี เกษตรกรจึงหันไปสนใจพืชอื่นที่ให้รายได้ดีกว่า


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1993. Flora of Thailand (Vol.6: 1). Bangkok: The Rumthai Press.