กระเจานา
Corchorus aestuans L., TILIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 ม. ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มม. ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 ซม. มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 1.3 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงลด มีเพียง 2-3 ดอก ออกตรงข้ามกับใบ ดอกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปแถบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปช้อน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่มีขน ผลรูปทรงกระบอก มีตุ่มที่ปลาย กว้าง 4-5 มม. ยาว 2-2.5 ซม. มีครีบตามยาวผล 6 ครีบ ปลายผลแตกออกเป็น 3 แฉก แต่ละแฉกปลายมี 2 จัก มีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนทั่วโลก จีน อินเดีย พม่า เวียดนาม มลายูภาคใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, หนองคาย, ขอนแก่น, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, อยุธยา, สระบุรี, กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี, นราธิวาส


สภาพนิเวศน์ : ที่ราบระดับต่ำ


เวลาออกดอก : ออกดอกและติดผลระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1993. Flora of Thailand (Vol.6: 1). Bangkok: The Rumthai Press.