กูดขี้หลับ
Thelypteris triphylla (Sw.) K. Iwats. var. parishii (Bedd.) K. Iwats., THELYPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนานยาวใต้ดิน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลและขน เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 50 ซม. อยู่ห่างๆ กัน โคนมีขนและเกล็ดสีดำ ใบย่อยมี 1-4 คู่ หรือมากกว่า ออกตรงข้ามกัน รูปขอบขนานถึงรูปเคียว กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 4-15 ซม. บิดงอไม่เท่ากัน ปลายเป็นติ่งยาว โคนสอบถึงมน ใบย่อยที่ปลายใบใหญ่ที่สุด รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายเป็นติ่งยาวถึงเรียวแหลม โคนสอบถึงมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นไม่สม่ำเสมอ แผ่นใบสีเขียวเข้ม บาง เมื่อแห้งใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง เส้นใบสานกันเป็นร่างแห เส้นใบย่อยสานกันเป็นรูปจันทร์เสี้ยว กลุ่มอับสปอร์ขยายขนาดเป็นรูปรีคลุมเส้นใบย่อย ไม่มีเยื่อคลุม อับสปอร์มีขน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นริมลำธารในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.