กูดตอง
Thelypteris repanda (Fee) Tagawa et K. Iwats., THELYPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนานใต้ดิน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. มีขนที่ขอบหรือทางด้านล่าง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 50 ซม. ยาว 40-70 ซม. ก้านใบสีน้ำตาล ยาวประมาณ 80 ซม. โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ใบย่อยมีประมาณ 5 คู่ ก้านใบย่อยสั้น รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 5.5 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. ปลายเป็นติ่งยาว โคนสอบ ขอบเว้าเป็นคลื่นหรือหยัก ใบย่อยที่ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่า แผ่นใบสีเหลืองอมเขียวถึงสีเขียว บางแต่เหนียว เส้นใบสานกันเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวเป็นแถว 2 ข้างของเส้นกลางใบย่อยในแต่ละหยัก มีขนปกคลุม ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ตอนเหนือของเวียดนาม พม่า และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.