กูดแดง
Thelypteris nudata (Roxb.) Morton, THELYPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนานใต้ดิน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลและขน เกล็ดร่วงง่าย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 50 ซม. ยาวประมาณ 1 ม. หรือมากกว่าในใบที่เจริญเต็มที่ ก้านใบยาวประมาณ 50 ซม. มีเกล็ด ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปใบหอก กว้างประมาณ 4 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. ปลายค่อยๆ เรียวแหลมยาว โคนมนถึงสอบ ขอบค่อนข้างเรียบหรือหยักมน ใบย่อยที่ปลายโคนมนถึงตัด ขอบหยัก ปลายแหลม แผ่นใบสีเขียว บาง เรียบ เส้นใบสานกันเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์อยู่บนเส้นใบย่อยภายในร่างแหของเส้นใบหรืออยู่ตรงกลาง เรียง 2 ข้างของเส้นกลางใบย่อยในแต่ละหยัก เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์มีขน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีน แถบเทือกเขาหิมาลัย พม่า และเวียดนามตอนเหนือ


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.