เกากีฉ่าย
Lycium chinense Mill., SOLANACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. มีหนามคมตามง่ามใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก กระจุกละ 3 ใบ ถ้าออกเป็นกระจุกใบกลางใหญ่กว่า 2 ใบข้างซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกัน ใบรูปรี รูปช้อน รูปไข่ หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมุมมน กว้าง 0.3-2 ซม. ยาว 0.8-6 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 2-4 เส้น ก้านใบสั้นและแผ่ออกเล็กน้อย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 0.5-1.8 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 2-8 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ยาว 1-1.5 ซม. ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 8 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ที่ครึ่งบนของหลอดกลีบดอก ส่วนล่างของก้านชูอับเรณูมีขนยาวอ่อนนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.2 ซม. รังไข่รูปไข่ ผลเนื้อนุ่ม รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-2 ซม. สุกสีแดง เมล็ดเล็ก มีจำนวนมาก สีขาว รูปไต เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ไม้พื้นเมืองของประเทศจีนและญี่ปุ่น


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : นำเข้ามาปลูกกันทั่วไป


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.