กระต่ายจาม
Adenosma indiana (Lour.) Merr., SCROPHULARIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-50 ซม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยวเรียงทั้งตรงข้ามและเรียงเป็นวงรอบ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 0.7-2 ซม. ยาว 1-6 ซม. ปลายเรียวแหลมหรือมน โคนสอบหรือมน ขอบหยักซี่ฟัน มีขนทั้ง 2 ด้านและมีต่อมเล็กๆ อยู่ด้านล่าง กลิ่นฉุนคล้ายการบูร ก้านใบสั้น ช่อดอกรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ออกตามง่ามใบและปลายยอด กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1-5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 3-8 ซม. ดอกเล็ก มีจำนวนมาก เรียงเป็นวงซ้อนกันแน่นรอบแกนช่อ ที่โคนดอกมีใบประดับรูปรีหรือรูปยาวรี ยาว 0.5-1.5 ซม. มีขนยาว กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น 1-2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ขนาดไม่เท่ากัน 5 แฉก ยาว 2-3 มม. มีขนยาว กลีบดอกสีน้ำเงินหรือม่วง โคนติดกันเป็นหลอดยาว 3-5 มม. ปลายเป็นรูปปากเปิด ขนาดไม่เท่ากัน ปากด้านบนมี 1 กลีบ รูปค่อนข้างกลม ปลายกลีบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปากด้านล่างมี 3 กลีบ และมีขนาดกลีบเล็กกว่าด้านบน เกสรเพศผู้ 4 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น 1 คู่ ยาว 1 คู่ ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอก รังไข่เล็ก ผลรูปไข่ ยาว 3-4 มม. เมล็ดรูปไข่ ขนาดเล็กมาก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ตอนใต้ของจีน ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : เชียงใหม่, แพร่, ตาก, เลย, สระบุรี, นครราชสีมา, ชลบุรี, ตราด, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, ระนอง, พังงา, สตูล


สภาพนิเวศน์ : ที่โล่งทั่วไป บนพื้นที่ใกล้ระดับน้ำทะเลไปจนถึงสูงประมาณ 360 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K. 1990. Flora of Thailand (Vol.5: 2). Bangkok: Chutima Press.