แก้ว
Murraya paniculata (L.) Jack, RUTACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่อง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 3-15 ซม. ก้านใบประกอบยาว 1-3 ซม. มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 4-8 เส้น ใบย่อยที่เหลือขนาดเล็กลดหลั่นลงมา โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1-2 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ ร่วงง่าย รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 มม. ยาว 1-1.5 ซม. จานฐานดอกรูปวงแหวนเล็กๆ รังไข่เล็ก ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 7 มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมเล็ก ขอบหยักเว้าเล็กน้อย เกสรเพศผู้มี 10 อัน ก้านชูอับเรณูเรียวและยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูที่ยาว 5 อัน เรียงสลับกับก้านชูอับเรณูที่สั้น 5 อัน อับเรณูเล็ก ผลรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด เมล็ดรูปไข่ กว้าง 4-6 มม. ยาวประมาณ 9 มม. มีขนหนา และเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบในป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน บนพื้นที่ราบระดับต่ำไปจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.